วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

การปฏิวัติอุตสาหกรรม

การปฏิวัติอุตสาหกรรม

การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นการเปลี่ยนแปลงการผลิตจากการใช้แรงงานคน สัตว์ และพลังงานน้ำเป็นการผลิตโดยใช้เครื่องจักรและระบบโรงงาน เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติอย่างกว้างขวาง ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
ปัจจัยส่งเสริมการปฏิวัติอุตสาหกรรม
การปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มที่ประเทศอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 เนื่องจากขณะนั้นอังกฤษมีความพร้อมมากกว่าประเทศยุโรปอื่นๆ จึงสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมทอผ้าได้เป็นอันดับแรก โดยมีปัจจัยพื้นฐานที่ส่งเสริมการปฏิวัติอุตสาหกรรม ดังนี้
เครื่องจักร เป็นนวัตกรรมสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการผลิตแบบดั้งเดิมเป็นระบบอุตสาหกรรมการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องจักรเป็นผลสืบเนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีหลังการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ สิ่งประดิษฐ์ที่ส่งผลให้เกิดอุตสาหกรรมทอผ้าคือ เครื่องปั่นด้ายชื่อ สปินนิง เจนนี (Spinning Jenny) ของเจมส์ ฮาร์กรีฟส์ (James Hargreaves) ซึ่งใช้มือหมุนและเป็นแบบอย่างให้นักประดิษฐ์คนอื่นๆ นำไปพัฒนาเพิ่ม อีกไม่กี่ปีต่อมานักประดิษฐ์ชาวอังกฤษสามารถพัฒนาเครื่องทอผ้าโดยใช้พลังงานไอน้ำ เครื่องทอผ้าที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้ใช้เครื่องจักรไอน้ำแทนแรงงานคน และทอผ้าได้้เร็วกว่าการใช้มือหมุนถึง 200 เท่า ทำให้เกิดการผลิตแบบอุตสาหกรรม เป็นผลให้ผ้าฝ้ายมีราคาถูกลง สามารถขยายตลาดได้กว้างขวางเพราะประชาชนทั่วไปสามารถซื้อได้
SPINNING_JENNYวัตถุดิบ อังกฤษมีแหล่งวัตถุดิบที่สามารถรองรับการผลิตในระบบอุตสาหกรรมซึ่งต้องใช้วัตถุดิบจำนวนมาก แหล่งปลูกฝ้ายที่สำคัญสำหรับโรงงานทอผ้าในอังกฤษคือ มลรัฐภาคใต้ของสหรัฐอเมริกา อดีตอาณานิคมของอังกฤษในอเรมริกาเหนือ และอาณานิคมอินเดียของอังกฤษ
ทุน ความมั่งคั่งจากการค้าที่ขยายตัวอย่างกว้างขวาง ประกอบกับความก้าวหน้าของระบบธนาคารที่ให้นักลงทุนกู้ยืมเงิน ทำให้นายทุนชาวอังกฤษจำนวนมากสนใจลงทุนประกอบอุตสาหกรรมเพราะให้ผลตอบแทนจำนวนมาก จึงส่งผลให้อุตสาหกรรมในอังกฤษขยายตัว
แรงงาน การเพิ่มขึ้นของประชากรอันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางด้านสาธารณะสุขและการแพทย์ประกอบกับข้อจำกัดของพื้นที่เพาะปลูกทำให้เกษตรกรจำนวนมากหลั่งไหลเข้าเมืองเพื่อหางานทำ และเป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตและต้องการแรงงานจำนวนมาก แต่ได้ค่าแรงต่ำ
ตลาด การขายตัวของประชากรในอังกฤษ ยุโรป และการจับจองอาณานิคมของอังกฤษในอเมริกาเหนือและเอเชีย ทำให้อังกฤษมีลาดรองรับสินค้าอุตสาหกรรมทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งส่งเสริมให้อุตสาหกรรมทอผ้าและอุตสาหกรรมอื่นๆ ขยายตัว
นโยบายของรัฐบาล นโยบายของรัฐบาลอังกฤษ ทั้งนโยบายขยายอาณานิคมในดินแดนต่างๆ และการสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมซึ่งส่งเสริมให้มีการแข่งขันเสรีตามทฤษฎีของเอดัม สมิธ (Adam Smith) นักเศรษฐศาสตร์ชาวสกอตแลนด์ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศอังกฤษ เพราะทำให้เกิดการขยายตลาด แหล่งผลิตวัตถุดิบและทุนประกอบการซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
การขยายตัวองอุตสาหกรรม
ความสำเร็จของการพัฒนาอุตสาหกรรมทอผ้าเป็นผลให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆ ตามมา นอกจากนี้ยังทำให้มีการขยายตัวของอุตสาหกรรมในดินแดนอื่นด้วย
การพัฒนาอุตสาหกรรมประเภทอื่น การประดิษฐ์เครื่ิองจักรไอน้ำและเครื่องจักรและเครื่องจักรประเภทอื่นที่เกิดขึ้นตามมา ทำให้มีความต้องการใช้แร่เหล็กซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในการสร้างเครื่องจักรกลเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดอุตสาหกรรมเหมืองแร่ และอุตสาหกรรมถ่านหินซึ่งเป็นพลังงานที่ใช้กันแพร่หลายในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เนื่องจากขณะนั้นมีการพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆ เพิ่มขึ้นจำนวนมากเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น อุตสาหกรรมกระดษา กระสุนปืน สิ่งทอ รองเท้า สิ่งพิมพ์ ฯลฯ
8756การปฏิวัติอุตสาหกรรมในดินแดนอื่น ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อุตสาหกรรมเติบโตมากในดินแดนต่างๆ แม้ว่าอังกฤษยังคงเป็นผู้นำในครึ่งแรกของศตวรรษนี้ แต่หลังจากนั้นประเทศอื่นๆ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมณี และสหรัฐอเมริกา ต่างประสบความสำเร็จในพัฒนาอุตสาหกรรม สหรัฐอเมริกากลายเป็นผู้นำอุตสาหกรรมที่สำคัญของโลกตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา อนึ่ง เป็นที่สังเกตว่าความก้าวหน้าของการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นไปนั้น เป็นผลมาจากการคิดค้นและพัฒนาพลังงานอื่นๆ ได้แก่ แก๊สธรรมชาติ น้ำมันปิโตรเลียม และพลังงานไฟฟ้า นอกจากนี้ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและการจัดการด้านการผลิตของระบบโรงงานอุตสาหกรรมก็ส่งผลให้อุตสาหกรรมเจริญรุ่งเรืองด้วย
ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
การปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อประชาคมโลก ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม
ด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาอุตสาหกรรมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศอุตสาหกรรมและดินแดนอื่น ดังนี้
ประการแรก ทำให้ประเทศอุตสาหกรรมเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ กลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกที่มีอิทธิพลในการผูกขาดการค้าและการผลิตวัตถุดิบในประเทศอื่นๆ เช่น อังกฤษเข้าไปผูกขาดการผลิตใบชาในอินเดียและลังกา รวมทั้งการผลิดดีบุกและยางพาราในคาบสมุทรมลายู ส่วนสหรัฐอเมริกาก็ผูกขาดการทำเหมืองแร่ในละตินอเมริกา เป็นต้น
876ประการที่สอง ทำให้การค้าระหว่างประเทศขยายตัวอย่างกว้างขวาง ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจแบบทุนนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะระบบแข่งขันเสรีและระบบบริโภคนิยมที่ชาติตะวันตกนำเข้าไปเผยแพร่ในดินแดนต่างๆ ทั้งประเทศเสรีและอาณานิคมของชาติตะวันตก
ประการที่สาม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบผลิตในดินแดนต่างๆ กล่าวคือ ระบบผลิตที่ใช้แรงงานฝีมือและสินค้าหัตถกรรมในประเทศอุตสาหกรรมถูฏแทนที่ด้วยสินค้าอุตสาหกรรมที่มีต้นทุนต่ำและราคาถูก ทำให้งานช่างฝีมือที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยกลางสูญหายไป ส่วนดินแดนอาณานิคมและปรเทศเกษตรกรรมอื่นๆ มีการผลิตในระบบเศราฐกิจแบบพึ่งพา (ตลาดต่างประเทศ) มากขี้น เช่น การทำลายพื้นที่ป่าเพื่อปลูกใบชาในอินเดียและลังกา การขยาพื้นที่ทำนาในประเทศไทยหลังการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง และการทำป่าไม้ในพม่าและดินแดนล้านนาของไทย ระบบเศรษฐกิจดังกล่าวได้ทำลายระบบการผลิตแบบพึ่งตนเองของดินแดนเหล่านั้น ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายอย่างรวดเร็ว และมีผลกระทบต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
ประการที่สี่ ทำให้มีการพัฒนาระบบการค้าที่ก้าวหน้า เนื่องจากการผลิตในระบบอุตสาหกรรมมีการแข่งขันสูงและเสรี ดังนั้นนอกเหนือจากการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ล้ำหน้าคู่ต่อสู้และการลดต้นทุนให้ต่ำที่สุดเพื่อให้มีโอกาสในการแข่งขันแล้ว ผู้ผลิตยังพัฒนาระบบการตลาด ซึ่งรวมทั้งการขาย การประชาสัมพันธ์ และการบริการเพื่อจูงใจลูกค้าด้วย ทำให้ระบบการตลาดกลายเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระบบการค้าจนถึงปัจจุบัน
ด้านการเมือง ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจทำให้ประเทศอุตสาหกรรมในยุโรปไม่หยุดยั้งแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ วิธีที่นิยมกันมากที่สุดคือ การขยายอิทธิพลทางการค้าโพ้นทะเลและการจับจองอาณานิคม เพระาทำให้สามารถขยายแหล่งวัตถุดิบและตลาด เป็นผลให้ประเทศยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ขยายลัทธิจักรวรรดินิยมจับจองอาณานิคมทั้งในเอเชีย แอฟริกา และออสเตรเลีย จนเกิดผลกระทบทางการเมืองอย่างกว้างขวาง
ด้านสังคม การปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างกว้างขวาง ทั้งสถานะของคนในสังคม การดำรงชีวิตในสังคมเมือง ตลอดจนการพัฒนาระบบขนส่งและคมนาคม
สถานะของคนในสังคม การปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้นายทุนและนักลงทุนร่ำรวยจากผลกำไรและส่วนแบ่งต่างๆ จากการค้าและอุตสาหกรรม ส่งผลให้มีชนชั้นกลางเพิ่มมากขึ้นในสังคม ชนชั้นกลางเหล่านี้ประกอบอาชีพต่างๆ เช่น นายธนาคาร เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม พ่อค้า นักกฎหมาย แพทย์ วิศวกร และอาจารย์มหาวิทยาลัย บุคคลเหล่านี้มีการศึกษาดีและได้รับการยอมรับในสังคม ส่วนใหญ่มีฐานะร่ำรวย  เป็นเจ้าของทรัพย์สินและมีศักยภาพในการบริโภคสินค้าต่างๆ ในทางตรงข้าม ชนชั้นผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่กลับมีฐานะยากจน โดยเฉพาะกรรมกรในโรงงานอุตสาหกรรมและเหมืองแร่มีความเป็นอยู่ที่แร้นแค้น รายได้ต่ำและขาดสวัสดิการ ทำให้เกิดปัญหาช่องว่างในสังคม สภาพที่แตกต่างในสังคมทำให้นักคิดบางคน เช่น คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) เสนอแนวคิดในการแก้ปัญหาความแตกต่างในสังคมในหนังสือชื่อ Communist Manifesto ซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิดของผู้คนในคริสต์ศตวรรษที่ 20 จำนวนมาก อีกทั้งยังส่งผลกระทบทางการเมืองอย่างมหาศาล เนื่องจากมีผู้นำไปพัฒนาเป็นลัทธิการเมืองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
025การดำรงชีวิตของคนในสังคมเมือง กรเติบโตทางเศราฐกิจในคริสต์ศตววษที่ 19 ทำให้เมืองขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นจำนวนมาก เมืองเหล่านี้เป็นศูนย์รวมความสะดวกสบาย ความรุ่งเรืองทางวัตถุ เทคโนโลยีและสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ทำให้ผู้คนในสังคมเมืองดำรงชีวิตด้วยการพึ่งพาวัตถุและเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม การที่เมืองใหญ่ๆ เหล่านี้เป็นศูนย์รวมความเจริญทั้งหลาย ทำให้มีผู้คนเข้ามาอยู่อาศัยและหางานทำจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดความแออัด ปัญหาคุณ ภาพของผู้ที่อยู่ในชุมชนแออัด ตลอดจนปัญหาสังคมอื่นๆ เช่น ปัญหาอาชญากรรม โสเภณี ขอทาน และคนจรจัด
การพัฒนาระบบขนส่งและคมนามคมสินค้าอุตสาหกรรมที่ผลิตได้ปริมาณมากจำเป็นต้องอาศัยการขนส่งที่มีประสิทธิภาพและพาหนะที่บรรทุกได้ครั้งละมากๆ จึงทำให้มีการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ ซึ่งรวมถึงการพัฒนาเล้นทางคมนาคมและยานพาหนะ เช่น เรือกลไฟ รถไฟ และรถยนต์ตามลำดับ ความก้าวหน้าของระบบขนส่งและคมนาคม ทำให้มนุษย์ในดินแดนต่างๆ มีโอกาสติดต่อกัน ได้เปิดโลกทัศน์และเรียนรู้กันมากขึ้น อนึ่ง ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19อะเล็กซานเดอร์ แกรแฮม เบลล์ (Alexander Graham Bell) สามารถประดิษฐ์เครื่องรับโทรศัพท์และระบบสัญญาณโทรศัพท์ ทำให้ผู้คนที่อยู่ห่างไกลกันคนละซีกโลกสามารถสื่อสารพูโคุยกันได้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการสื่อสารที่ไร้พรมแดน
04โดยสรุป การปฏิวัติอุตสาหกรรมไม่เพียงแต่นำการเปลี่ยนแปลงทุกด้านมาสู่ประเทศอุตสาหกรรม แต่ยังส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อประชาคมโลกด้วย

การก่อตัวของลัทธิชาตินิยม

การก่อตัวของลัทธิชาตินิยม

ลัทธิชาตินิยมเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความรัก ความนิยม ความเชื่อมั่นและความภาคภูมิใจในชาติ เชื้อชาติ และวัฒนธรรมในชาติ เช่น ศาสนา ภาษา แลพขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ เงื่อนไขสำคัญที่เชื่อมโยงให้เกิดลัทธิชาตินิยมในหมู่ประชาชนคือ การมีประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และการเผชิญปัญหาร่วมกัน ดังนั้นกระแสชาตินิยมจึงก่อตัวขึ้นได้ในทุกดินแดน เมื่อคนในชาตินั้นรู้สึกว่าชาติ เผ่าพันธุ์ หรือวัฒนธรรมของตนกำลังถูกคุกคามหรือครอบงำจากชนชาติอื่นหรือชนกลุ่มอื่นในชาติเดียวกัน
สาเหตุของการเกิดลัทธิชาตินิยม
ลัทธิชาตินิยมที่ก่อตัวขึ้นใในแต่ละดินแดนมีพัฒนาการแตกต่างกันตามเงื่อนไขและปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดลัทธิชาตินิยม สาเหตุสำคัญของการเกิดลัทธิชาตินิยมเป็นผลจากการขยายลัทธิจักรวรรดินิยม ความคลั่งชาติและความเชื่อมั่นในอุดมการณ์การเมือง
การขยายลัทธิจักรวรรดินิยม ลัทธิชาตินิยมมักก่อตัวขึ้นในดินแดนอาณานิคม นำโดยปัญญาชนและผู้นำชาวพื้นเมืองที่ได้รับการศึกษาดีและรู้เท่าทันชาวตะวันตก บุคคลเหล่านั้นเห็นว่าชาวตะวันตกกอบโกยทรัพยากรและความมั่งคั่งไปจากบ้านเกิดเมืองนอนของตน ในขณะที่ชาวอาณานิคมมีความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้นและด้อยพัฒนา จึงเกิดความรู้สึกต่อต้านเมืองแม่และปลุกกระแสชาตินิยมในหมู่ประชาชน ทั้งในรูปของการแสดงปาฐกถา และการเผยแพร่แนวความคิดผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น บทความ และแผ่นปลิว
ความคลั่งชาติ ความรักชาติและเผ่าพันธุ์อย่างรุนแรงของผู้นำประเทศบางคนที่ต้องการสร้างประเทศของตนให้เป็นจักรวรรดิยิ่งใหญ่ ทำให้กลายเป็นความคลั่งชาติและมีการปลุกกระแสนิยมในหมู่ประชาชนให้คล้อยตาม ความคิดและปฏิบัติตามผู้นำ ดังกรณีของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ผู้นำพรรคนาซี (Nazi) เยอรมันต้องการสร้างประเทศเยอรมณีให้เป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ และยุยงให้ต่อต้านชาวยิว เพราะฮิตเลอร์เชื่อว่าชาวยิวเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าของชนเผ่าอารยัน แนวคิดดังกล่าวส่งผลให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวในระหว่างสงครามดังกล่าว
6+
ความเชื่อมั่นในอุดมการณ์การเมือง ความยึดมั่นในลัทธิการเมืองของผู้นำแต่ละประเทศก็มีส่วนกระตุ้นให้เกิดลัทธิชาตินิยมด้วย โดยเฉพาะในช่วงสงครามเย็น ที่มีการเผชิญหน้ากันระหว่างประเทศที่ยึดถืออุดมการณ์การเมืองแตกต่างกัน ผู้นำบางประเทศได้ปลุกกระแสชาตินิยมให้ประชาชนคล้อยตามอุดมการณ์ที่เชื่อว่าเป็นประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศชาติ และให้ต่อต้านอุดมการณ์ที่แตกต่างจากตนอย่างรุนแรง เช่น กรณีเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ซึ่งต่างยึดมั่นในอุดมการณ์ของตนจนไม่สามารถปรองดองกัน
การขยายตัวของลัทธิชาตินิยม
ลัทธิชาตินิยมเริ่มขึ้นในทวีปยุโรปและขยายตัวในคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลังจากนั้นลัทธิชาตินิยมได้ ขยายตัวในทวีปต่างๆ อย่างรวดเร็วในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศต่างๆ ถูกย่ำยีจากกองทัพของต่างชาคิ เช่น กองทัพนาซีเข้ารุกรานประเทศยุโรปตะวันตกและยุโรปตะวันออก และกองทัพของญี่ปุ่นกดขี่ข่มเหงประชาชนในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างสงครามมหาเอเชียบรูพา ส่งผลให้มีการขยายตัวของลัทธิชาตินิยม ต่อมาลัทธิชาตินิยมได้พัฒนาอย่างรวดเร็วในประเทศเกิดใหม่หลังสงครามและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ในดินแดนเหล่านั้น หารขยายตัวของลัทธิชาตินิยมหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีสาเหตุ ดังต่อไปนี้
ประการแรก หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ดินแดนต่างๆ ที่เคยเป็นอาณานิคมของชาติมหาอำนาจ ตลอดจนชนกลุ่มน้อยที่เคยถูกปกครองและถูกกดขี่ข่มเหงจากประชากรส่วนใหญ่ในประเทศเดียวกันได้ใช้ลัทธิชาตินิยมเป็นเครื่องมือในการเคลื่อนไหว ขอแยกตัวเป็นอิสระ ส่งผลให้มีประเทศเกิดใหม่เนื่องจากแรงผลักดันด้านชาตินิยมเป็นจำนวนมากในเอเชีย แอฟริกา และแหลมบอลข่าน
ประการที่สอง ประชาชนในประเทศเกิดใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เป็นอดีตอาณานิคมของต่างชาติถูกกระตุ้นให้มีความนึกคิดแบบชาตินิยม เนื่องจากผู้นำประเทศต้องการใช้จิตสำนึกนี้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ เช่น เวียดนาม และเกาหลีใต้
ประการที่สาม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายต่างพยายามพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้า และอาศัยความช่วยเหลือจากชาติมหาอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเงินทุนและเทคโนโลยี ชาติมหาอำนาจจึงฉวยโอกาสเอารัดเอาเปรียบและเรียกร้องสิ่งตอบแทน เช่น การขอตั้งฐานทัพเพื่อขยายอิทธิพลทางการทหารและการเอาเปรียบด้านการค้า กรณีเหล่านี้ทำให้เกิดกระแสชาตินิยมต่อต้านประเทศมหาอำนาจ เช่น การประท้วงขับไล่ทหารอเมริกันในประเทศไทยและฟิลิปปินส์ การประท้วงสินค้าญี่ปุ่นในประเทศไทย ฯลฯ
ผลของลัทธิชาตินิยม
การต่อสู้และเรียกร้องเอกราชหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อันเนื่องมาจากการขยายตัวของลัทธิชาตินิยมได้ส่งผลกระทบที่สำคัญคือ
ประการแรก ทำให้เกิดสงครามเรียกร้องเอกราชหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากเจ้าของอาณานิคมเดิม หรือผู้ปกครองประเทศไม่ยินยอมให้ชนกลุ่มน้อยแบ่งแยกดินแดน กลุ่มชาตินิยมจึงผลักดันให้ประชาชนลุกขึ้นต่อต้าน เช่น สงครามระหว่างฝรั่งเศสกับอาณานิคมในอินโดจีน สงครามระหว่างกลุ่มเรียกร้องเอกราชในอินโดนีเซียกับรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ และสงครามระหว่างชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลประเทศต่างๆ ในแหลมบอลข่าน แอฟริกา พม่า อิหร่าน และอิรัก
ประการที่สอง ทำให้มหาอำนาจในสงครามเย็นฉวยโอกาสแทรกแซงการต่อสู้ของกลุ่มชาตินิยมในประเทศที่กำลังมีความขัดแย้งเป็นผลให้ปัญหาบานปลายกลายเป็นสงครามกลางเมือง และประชาชนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ดังเช่น กรณีสงครามกลางเมืองในกัมพูชา สงครามเวียดนาม และสงครามเกาหลี
โดยสรุป หตุการ์สำคัญทางประวัติศษสตร์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยกลางต่อเนื่องถึงสมัยใหม่ ได้ส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติทั้งในทวีปยุโรปและประชาคมโลก

คริสต์ศตวรรษที่6–คริสต์ศตวรรษที่15

คริสต์ศตวรรษที่6–คริสต์ศตวรรษที่15

การแผ่ขยายอิทธิพลของลัทธิศาสนา589ลัทธิศาสนาได้ขยายเข้าไปในดินแดนต่างๆ เช่น ศษสนาคริสต์แผ่ขยายไปในยุโรป ศาสนาอิสลามขยายไปในอินเดีย แอฟริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูขยายไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศาสนาพุทธแผ่ขยายไปในลังกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีนและญี่ปุ่น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและถ่ายทอดอารยธรรมต่อกัน
วัดโฮริว เป็นวัดที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น ได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก เป็นวัดทางพระพุทธศษสนาที่แผ่ขยายเข้ามาในญี่ปุ่นตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 9
7887ระบบฟิวดัล
087เป็นระบบการปกครองสังคมยุโรปที่กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น มีศูนย์กลางอยู่ที่แมเนอร์ของขุนนาง โดยมีข้าติดที่ดินทำงานแลกกับการคุ้มครองจากขุนนาง เมื่อข้าติดที่ดินย้ายเข้าทำงานในเืมืองก่อให้เกิดกลุ่มชนชั้นกลางในสังคมยุโรป ทำให้ระบบฟิวดัลเสื่อมไป
อัศวิน ในสังคมฟิวดัล ต้องฝึกตั้งแต่อายุ 7 ปี เริ่มจากรับใช้ท่านผู้หญิงเจ้าของปราสาท อบรมมารยาทราชสำนัก ฝึกความสุภาพ กล้าหาญ เสียสละ เมื่ออายุ 21 ปี เข้าพิธีแต่งตั้งเป็นอัศวินก่อนจะเป็นขุนนาง
245
สงครามครูเสด
145สงครามระหว่างชาวคริสเตียนกับชาวมุสลิมเพื่อแย่งชิงนครเยรูซาเล็ม ซึ่งเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาคริสต์ มีระยะเวลายาวนานเกือบ 200 ปี ส่งผลกระทบให้ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและโลกมุสลิมเสื่อมลง
ก็อตเฟร์ ออฟ บูลลิวออน เป็นผู้นำคนสำคัญของนักรบชาวคริสเตียนหรือนักรบครูไซเดอร์ ในสงครามศักดิ์สิทธิ์ หรือ สงครามครูเสด ครั้งที่ 1
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
5454เกิดขบวนการมนุษย์นิยม มีการฟื้นฟูศิลปวิทยาการสมัยคลาสสิกขึ้นมาใหม่ จนเกิดผลงานวรรณกรรมและศิลปกรรมที่โดเด่น มีการใช้หลักเหตุผลแทนความเชื่อแบบงมงาย เกิดการปฏิรูปศาสนา และพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ขึ้นมากมาย
เดวิด ประติมากรรมจากหินอ่อนก้อนมหึมา สร้างดดย มีเกลันเจโล หรือ ไมเคิลแองเจโล จิตรกร ชื่อดังชาวอิตาลี ผู้ฟื้นฟูศิลปวิทยาการที่ยิ่งใหญ่ของโลก
525การสำรวจทางทะเล
899การสำรวจทางทะเลของชาวยุโรปเกิดจากความต้องการพัฒนาเส้นทางทะเลติดต่อกับเอเชีย ทำให้เกิดการสำรวจและค้นพบดินแดนใหม่ๆ เกิดการขยายตัวทางการค้า สร้างความมั่งคั่งให้ชาวยุโรป
เฟอร์ดินันด์ แมกเจลลัน เป็นนักเดินเรือชาวโปรตุเกส ได้ทำงานให้กับประเทศสเปน และสามารถเดินทางรอบโลกได้เป็นคนแรก ชื่อของช่องแคบแมกเจลลันตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา
69การปฏิรูปศาสนา
221การปฏิรูปศาสนาเกิดจากนักมนุษย์นิยมวิพากษ์ถึงความเสื่อมของสถาบันศษสนาและเสนอแนวทางแก้ไข แต่ศาสนจักรไม่ยอมรับ ศาสนาคริสต์จึงถูกแบ่งออกเป็น 2 นิกายใหญ่ คือ นิกายโรมันคาทอลิก และโปรเตสแตนด์
นิกายลูเธอรัน เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ก่อตั้งโดยมาร์ติน ลูเธอร์ มีจุดประสงค์ต้องการให้บุคคลรับผิดชอบในความเชื่อของตน และสนับสนุนให้บุคคลเอาใจใส่ต่อพระคัมภีร์
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
5658การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์เป็นผลจากการพัฒนาความคิดที่ได้รับอิทธิพลจากสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ทำให้เกิดนักวิทยาศาสตร์และนักปราชญ์คนสำคัญของโลกขึ้นมากมาย
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีชาวเยอรมัน ค้นพบทฤษฎีสัมพันธภาพ เป็นแบบอย่างของความอัจฉริยะ ได้รับยกย่องให้เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อวิทยาศาสตร์ที่สุดในยุคปัจจุบัน
581การปฏิวัติอุตสาหกรรม
588การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นการเปลี่ยนแปลงจากการใช้แรงงานคน สัตว์ และพลังงานน้ำ เป็นเครื่องจักรและระบบโรงงาน เศรษฐกิจแบบทุนนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก เกิดการจับจองอาณานิคม มีเมืองใหญ่เกิดขึ้นจำนวนมาก
เครื่องจักรไอน้ำ ของเจมส์ วัตต์ เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรม นำมาใช้ในการปั่นด้ายและทอผ้า ผลักดันให้เกิดการก้าวกระโดดทางเทคโนโลยีและแรงงานขยายตัวอย่างมหาศาล
587การขยายลัทธิจักรวรรดินิยม
5228ลัทธิจักรวรรดินิยมเป็นผลจากการสำรวจทางทะเลและการปฏิวัติอุตสาหกรรมประเทศต่างๆ ในยุโรปแย่งชิงอาณานิคมในเอเชียและแอฟริกาเพื่อแสวงหาวัตถุดิบ นำมาซึ่งความขัดแย้งและทรัพยากรของอาณานิคมถูกทำลาย
ป้อมพระจุลจอมเกล้า เป็นป้อมปราการทางน้ำของไทย สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2427 สมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อป้องกันการรุกรานจากลัทธิจักรวรรดินิยม ได้ใช้เป็นที่ยิงต่อสู้กับเรือรบฝรั่งเศสในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112
+9การก่อตัวของลัทธิชาตินิยม
51ลัทธิชาตินิยมก่อตัวขึ้นในดินแดนอาณานิคมเพื่อต่อต้านชาวตะวันตกโดยชาวพื้นเมืองที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตก การยึดมั่นในลัทธิชาตินิยมที่เกินขอบเขตกลายเป็นความคลั่งชาติ ก่อให้เกิดสงครามเรียกร้องเอกราช
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เป็นที่รู้จักในฐานะผู้นำเผด็จการของนาซี มีความเชื่อมั่นในลัทธิชาตินิยมสูง ฮิตเลอร์ใช้นโยบายเชื้อชาติ ทำให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ผู้บริสุทธิ์ตายไปอย่างน้อย 11 ล้านคน โดยเป็นชาวยิวถึง 6 ล้านคน
-+9สงครามโลกครั้งที่ 1
55501
สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดจากการขยายตัวของลัทธิชาตินิยม จักรวรรดินิยม และทหารนิยม เมื่อสงครามยุติฝ่ายสัมพันธมิตรชนะมหาอำนาจกลาง มีผู้เสียชีวิตและพิการมากกว่า 8 ล้านคน และเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจตกต่ำไปทั่วโลก
สงครามโลกครั้งที่ 2
514สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผลกระทบที่สืบเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามยุติลงโดยฝ่ายพันธมิตรชนะฝ่ายอักษะ การใช้อาวุธร้ายแรงและอาวุธนิวเคลียร์ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บมากกว่า 20 ล้านคน และทำให้เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกนาน 10 ปี
กามิกาเซ่ หรือกองกำลังจู่โจมพิเศษของญี่ปุ่น ฝูงบินกามิกาเซ่ใช้ยุทธวิธีพลีชีพเพื่อหยุดยั้งกองทัพสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยบรรทุกระเบิดและพุ่งเข้าชนเรือ นักบินมีอายุอยู่ในช่วง 20 ปี เป็นนักศึกษา ซึ่งมีแรงจูงใจจากความรักชาติ
5657สงครามเย็น
56425สงครามเย็นเป็นภาวะตึงเครียดระหว่างกลุ่มประเทศเสรีนิยมกับสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ซึ่งต่อสู้กันด้วยวิธีการต่างๆ ยกเว้นการเผชิญหน้าโดยใช้อาวุธ เมื่อต่างฝ่ายต่างตระหนักถึงความรุนแรงของการเผชิญหน้าที่เพิ่มมากขึ้น จึงมีการปรับความสัมพันธ์ระหว่างมหาอำนาจ สงครามเย็นจึงยุติลง หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลาย
การสำรวจดวงจันทร์ เป็นการแสดงแสนยานุภาพและความสามารถทางเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธวิธีการต่อสู้ระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตในภาวะสงครามเย็น
index


ความขัดแย้งในคริสต์ศตวรรษที่ 20

ความขัดแย้งในคริสต์ศตวรรษที่ 20

ความขัดแย้งระหว่างประเทศมหาอำนาจตะวันตกในการแข่งขันแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบกับการขยายตัวของลัทธิชาตินิยมในยุโรปที่รุนแรงมากขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งมีผลสืบเนื่องถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็นตามลำดับ
สงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914 – 1918)
สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นสงครามที่เกิดขึ้นในยุโรปและขยายเป็นสงครามโลก เนื่องจากมีประเทศในทวีปอื่น เช่น อเมริกาเหนือ และเอเชียเข้าร่วมในสงครามนี้
สาเหตุสงครามโลกครั้งที่ 1 การขยายตัวของลัทธิชาตินิยม การขยายลัทธิจักรวรรดินิยม การพัฒนาระบบพันธมิตรของประเทศยุโรปและการเติบโตของลัทธิทหารนิยม เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1
การขยายตัวของลัทธิชาตินิยม ลัทธิชาตินิยมในยุโรปขยายตัวอย่างรวดเร็วในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะในแหลมบอลข่านที่ต้องการปกครองตนเองและเป็นอิสระจากอำนาจของจักรวรรดิออสเตรีย – ฮังการี และจักรวรรดิออตโตมัน ประเทศที่ส่งเสริมกลุ่มชาตินิยมในแหลมบอลข่าน คือ เซอร์เบีย (Serbia)
การขยายตัวของลัทธิจักรวรรดินิยม การแข่งขันขยายลัทธิจักรวรรดินิยมของมหาอำนาจยุโรปในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศเหล่านั้นจนทำให้มีการแบ่งขั้วอำนาจที่ปรากฏในระบบพันธมิตรของยุโรป
ระบบพันธมิตรของยุโรป ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ปรัสเซีย (Prussia) ได้พัฒนาเป็นจักรวรรดิเยอรมนีและผนึกกำลังชาติพันธมิตรเพื่อโดดเดี่ยวฝรั่งเศสซึ่งเป็นศัตรูและคู่แข่งสำคัญในการขยายลัทธิจักรวรรดินิยม ต่อมาได้เกิดระบบพันธมิตรของยุโรป คือกลุ่มไตรพันธมิตร (Triple Alliance) หรือกลุ่มมหาอำนาจกลาง ประกอบด้วย เยอรมณีและออสเตรีย – ฮังการี และกลุ่มไตรภาคี (Triple Entente) หรือฝ่ายสัมพันธมิตร ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศสและรัสเซีย การแบ่งขั้วอำนาจในยุโรปทำให้แต่ละประเทศกล้าเผชิญหน้ากันเพราะต่างก็มีพันธมิตรหนุนหลัง
556
การเติบโตของลัทธิทหารนิยม ผู้นำประเทศในยุโรปต่างเชื่อว่าการสร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่จะต้องใช้กำลังทหารสนับสนุนและทำสงครามขยายอำนาจ เช่น ปรัสเซียใช้วิธีการทำสงครามเพื่อขยายดินแดนฝรั่งเศส และเดนมาร์ก ส่วนอิตาลีก็ใช้กำลังสงครามรุกรานอบิสซิเนีย ดังนั้นรัฐบาลต่างๆ จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนากองทัพและอาวุธยุทโธปกรณ์ อนึ่ง ความเข้มแข็งทางการทหารและการสนับสนุนจากกองทัพได้ทำให้ประเทศเหล่านั้นยินดีเข้าสู่สงคราม
ชนวนสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ 1914 กลุ่มชาตินิยมชาวเซิร์บ (Serb) ซึ่งต้องการปลดแอกจากจักรวรรดิออสเตรีย – ฮังการีได้ลอบสังหารมกุฎราชกุมารฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ (Archduke Franz Ferdinand) แห่งออสเตรีย ขณะเสด็จเยือนประเทศเซอร์เบีย ออสเตรีย – ฮังการียื่นคำขาดให้เซอร์เบียรับผิดชอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่เซอร์เบียไม่สามารถจับกุมคนร้ายได้ อีกไม่กี่วันต่อมา ออสเตรีย – ฮังการีซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเยอรมนีจึงประกาศสงครามต่อเซอร์เบีย รัสเซียได้เข้าช่วยเซอร์รบ อังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งเป็นพันธมิตรของรัสเซียจึงเข้าร่วมรบด้วยเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร ในปีต่อมาอิตาลีก็เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร แม้จะเคยร่วมกลุ่มไตรพันธมิตรกับออสเตรีย-ฮังการีและเยอรมนีมาก่อนก็ตาม ส่วนฝ่ายมหาอำนาจกลางก็มีจักรวรรดิออตโตมันเข้าร่วมกับออสเตรีย-ฮังการีและเยอรมนี ทำให้สงครามขยายไปทั่วยุโรป เอเชียและแปซิฟิก ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 เกิดปฏิวัติในประเทศรัสเซีย และมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบโซเวียตภายใต้อุดมการณ์สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ความวุ่นวายทางการเมืองภายในประเทศทำให้รัสเซียถอนตัวจากสงคราม อย่างไรก็ตามสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้ขยายวงออกไปอีก เพราะอีก 2 เดือนต่อมาสหรัฐอเมริกาได้เข้าร่วใกับฝ่ายพันธมิตร สงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงในปลาย ค.ศ. 1918 โดยฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ
586
ผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามโลกครั้งที่ 1 ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
ด้านการเมือง สงครามทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญในยุโรป เพราะทำให้จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีล่มสลาย มีประเทศเกิดใหม่ในยุโรปตะวันออก แถบทะเลบอลติกและแหลมบอลข่าน เช่น ฮังการี เชคโกสโลวาเกีย โรมาเนีย บุลแกเรีย ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย ฯลฯ พร้อมกันนั้นยังมีความพยายามก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) เพื่อป้องกันสงครามและรักษาสันติภาพด้วย
ด้านเศรษฐกิจ สงครามทำให้ประเทศต่างๆ ประสบหายนะทางเศรษฐกิจ และจำเป็นต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างรีบด่วน โดยเฉพาะการผลิตสินค้าส่งออก แต่เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่ขาดกำลังซื้อ จึงทำให้สินค้าขายไม่ออกและส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำที่ลุกลามไปทั่วโลก
ด้านสังคม สงครามทำให้ผู้คนเสียชีวิตและพิการมากกว่า 8 ล้านคน ประเทศต่างๆ ต้องเร่งฟื้นฟูสังคม นอกจากนี้ยังทำให้ลัทธิชาตินิยมขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นที่เป็นผู้แพ้สงคราม เช่น เยอรมนีซึ่งต่อมาได้ก่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อแก้แค้นฝ่ายสัมพันธมิตร
สงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 – 1945)
สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผลกระทบที่สืบเนื่่องจากสงครมโลกครั้งที่ 1 โดยเยอรมนีเป็นผู้เริ่มสงคราม สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ขยายสนามรบออกไปนอกยุโรปคือ แอฟริกา เอเชียและแปซิฟิก เป็นสงครามที่มีการประหัตประหารและทำลายล้างกันรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 เยอรมนีส่งกองทัพบุกโปแลนด์ ดังนั้นอังกฤษและฝรั่งเศสจึงประกาศสงครามต่อเยอรมนี นับเป็นการเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ประกอบด้วยฝ่ายพันธมิตร (Allied Nations) ซึ่งมีอังกฤษ ฝรั่งเศสและสหภาพโซเวียตเป็นแกนนำ และฝ่ายอักษะ (Axis ซึ่งมีเยอรมนีและอิตาลีเป็นแกนนำ ต่อมาญี่ปุ่นได้เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะและเริ่มต้นสงครามมหาเอเชียบูรพาด้วยการโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล (Pearl Harbor) และยึดครองเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ทำให้สหรัฐอเมริกาประกาศสงครามต่อญี่ปุ่นและเข้าร่วมสงครามกกับฝ่ายพันธมิตร สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 โดยฝ่ายพันธมิตรได้รับชัยชนะ
564
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 2 สามารถวิเคราห์ได้จากทั้งฝ่ายอักษะและฝ่ายพันธมิตร ดังนี้
ฝ่ายอักษะ ลัทธิจักรวรรดินิยมผสมผสานกับลัทธิชาตินิยมเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งเสริมให้เยอรมนี อิตาลีและญี่ปุ่นทำสงครามขยายอำนาจครอบครองดินแดนโพ้นทะเลและทรัพยากรอันมั่งคั่ง อนึ่ง การที่ประเทศเหล่านี้มีแนวทางที่คล้ายคลึงกันคือ ต่างสนับสนุนลัทธิจทหารนิยมและการปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ ก็ทำให้สามารถรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรกัน รวมทั้งมีความมั่นใจในการก่อสงคราม
ฝ่ายพันธมิตร ปลายทศวรรษ 1930 เยอรมนีขยายอำนาจคุกคามดินแดนใกล้เคียง เช่น การผนวกแคว้นสุเดเตน (Sudeten) ของเชคโกสโลวาเกีย แต่ฝ่ายพันธมิตรกลับดำเนิน “นโยบายเอาใจ” (Appeasement Policy) โดยไม่มีปฏิกิริยาต่อต้าน เนื่องจากยังไม่ต้องการทำสงครามกับเยอรมนี จึงทำให้เยอรมนีได้ใจและบุกโปแลนด์ต่อไป จนนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2
ผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามโลกครั้งที่ 2 ขยายพื้นที่สงครามครอบคลุมทวีป ทำให้เกิผลกระทบมากกว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 ทุกด้าน
ด้านการเมือง สงครามโลกครั้งที่ 2 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของโลกที่สำคัญคือ ดินแดนอาณานิคมได้รับเอกราช มีประเทศเกิดใหม่ในเอเชียและแอฟริกาจำนวนมาก อำนาจของยุโรปเสื่อมลงจึงต้องผนึกกำลังเป็นสหภาพยุโรป (European Union) ในปัจจุบัน สหรัฐอเมริกาซึ่งช่วยกอบกู้สถานการณ์สงครามและนำชัยชนะให้กับฝ่ายพันธมิตรได้ขึ้นมาเป็นผู้นำโลก สหรัฐอเมริกาเข้าไปจัดระเบียบโลก และสร้างกฎเกณฑ์ต่างๆ ขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะการนำประชาคมโลกเข้าสู่ยุคสงครามเย็นที่ส่งผลต่อชะตากรรมของมนุษยชาติในโลกปัจจุบัน
ด้านเศรษฐกิจ ความเสียหายทางเศรษฐกิจจากสงครามโลกครั้งที่ 2 มีมูลค่าที่ไม่อาจประเมินได้ ประเทศส่วนใหญ่ซึ่งรวมทั้งประเทศในยุโรปต้องเผชิญปัญหาเศรษฐกิจนานนับ 10 ปีจึงฟื้นตัวได้ ทำให้มีการก่อตั้งองค์การทางการเงินระหว่างประเทศเพื่อช่วยบูรณะฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ เช่น ธนาคารโลก และ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ (International MonetaryFund = IMF)
ด้านสังคม สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำลายล้างชีวิตผู้คนจำนวนมหาศาล มีผู้บาดเจ็บล้มตายในสงครามโลกครั้งที่ 2 มากกว่า 20 ล้านคน ทั้งยังทำให้เกิดการพลัดพรากในครอบครัว อนึ่ง สงครามโลกครั้งที่นี้ยังส่งผลกระทบต่อจริยธรรมและศีลธรรมของผู้คนในสังคมอย่างมาก เนื่องจากการมีการประหัตประหารกันอย่างโหดร้ายทารุณ และการใช้อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างรุนแรงต่อมนุษยชาติ เช่น การที่สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูญี่ปุ่นที่เมืองฮิโรชิมา (Hiroshima) วันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 และที่เมืองนางาซากิ (Nagasaki) ในอีก 3 วันต่อมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตทันทีมากกว่า 1 แสนคน055
สภาพเมืองฮิโรชิมา หลังจากสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณู
056


อนุภาคของระเบิดปรมาณูที่เมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น
สงครามเย็น
สงครามเย็น (Cold War) เป็นศัพท์ใหม่ที่เกิดขึ้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 หมายถึง ภาวะตึงเครียดระหว่างกลุ่มประเทศ 2 กลุ่ม ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็ใช้วิธีการต่างๆ ในการต่อสู้ ยกเว้นการเผชิญหน้า จึงหวั่นเกรงกันว่าความตึงเครียดในสงครามเย็นอาจจะนำไปสู่ภาวะสงครามร้อนได้ และกลายเป็นสงครามโลกอีกครั้งหนึ่ง
ความขัดแย้งในสงครามเย็นปรากฏเด่นชัดใน ค.ศ. 1947 เมื่อประธานาธิบดีแฮร์รี ทรูแมน (Harry S. Truman) แห่งสหรัฐอเมริกาประกาศหลักการทรูแมน (Truman Doctrine) ซึ่งเป็นการประกาศต่อต้านการแทรกแซงใดๆ ต่อรัฐบาลที่ชอบธรรมในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะยุโรปตะวันออก กรีซ ตุรกีและอิหร่านซึ่งกำลังเกิดความวุ่นวายภายในประเทศ เนื่องจากกลุ่มต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคคอมมิวนิสต์ทำการจลาจลต่อต้านรัฐบาลของตน
058
สาเหตุของสงครามเย็น สงครามเย็นมีรากฐานมาจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศเสรีนิยมที่นำโดยสหรัฐอเมริกาและประเทศยุโรปตะวันตกกับสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นผู้นำของกลุ่มสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ความขัดแย้งของชาติมหาอำนาจดังกล่าวเกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีตและขยายเป็นสงครามเย็นในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศต่างๆ เติบโตและส่งผลให้โลกถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายโลกเสรีกับฝ่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
วิกฤตการ์ณในสงครามเย็น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดวิกฤตต่างๆ อันเนื่องมาจากความขัดแย้งและการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายโลกเสรีกับฝ่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ซึ่งสร้างความตึงเครียดและหวาดวิตกต่อประชาคมโลก ด้วยเกรงว่าเหตุวิกฤตนั้นจะนำไปสู่สงครามโลกครั้งใหม่ วิกฤตในสงครามเย็นที่สำคัญ เช่น
การปิดล้อมกรุงเบอร์ลิน ค.ศ. 1948 – 1949 เป็นการปิดล้อมเบอร์ลินตะวันตกโดยฝ่ายเยอรมนีตะวันออกเพื่อกดดันเยอรมนีตะวันตก
การจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือองค์การนาโต (North Atlantic Treaty Organization = NATO) ค.ศ. 1949 เป็นการรวมกลุ่มทางทหารนำโดยสหรัฐอเมริกาและกลุ่มพันธมิตรในเขตมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ
106230969
สงครามเกาหลี ค.ศ. 1950 – 1953 เป็นสงครามระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ซึ่งมีสหรัฐอเมริกาและกำลังอาสาสมัครของประเทศสมาชิกสหประชาติเข้าไปช่วยทำสงครามในเกาหลีใต้
korea15การรวมกลุ่มกติกาสนธิสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact) ค.ศ. 1955 เป็นการรวมกลุ่มทางทหารระหว่างสหภาพโซเวียตและประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกเพื่อตอบโต้องค์การนาโต
สงครามเวียดนาม ค.ศ. 1960 – 1975 เป็นสงครามระหว่างเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ที่สหรัฐอเมริกาส่งทหารเข้าไปรบกับพวกคอมมิวนิสต์เวียดนามซึ่งยึดเวียดนามเหนือ
105244วิกฤตการณ์ขีปนาวุธที่คิวบา ค.ศ. 1962 เป็นเหตุการณ์ที่สหภาพโซเวียตพยายามนำขีปนาวุธไปติดตั้งที่คิวบาซึ่งเป็นประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในลาตินอเมริกา สหรัฐอเมริกาถือว่าเป็นการคุกคามต่อสหรัฐอเมริกาและทวีปอเมริกาโดยตรง จึงประกาศจะตอบโต้อย่างรุนแรง โซเวียตจึงยินยอมถอนขีปนาวุธกลับไป เพราะไม่ต้องการทำสงครามนิวเคลียร์กับสหรัฐอเมริกา
การผ่อนคลายและการสิ้นสุดขอสงครามเย็น การผ่อนคลายของสงครามเย็น (Detente) เริ่มตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เมื่อกลุ่มประเทศประชาธิปไตยและสังคมนิยมคอมมิวนิสต์เริ่มหันหน้าเข้าหากัน เพื่อผ่อนคลายภาวะตึงเครียดของสงครามเย็นเนื่องจากต่างตระหนักว่า ไม่อาจปล่อยให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างชาติมหาอำนาจรุนแรงเพิ่มมากขึ้นต่อไป เพราะจะนำไปสู่จุดแตกหักที่ส่งผลต่อสันติภาพของโลกได้ เหตุการณ์สำคัญที่นำไปสู่การผ่อนคลายและการสิ้นสุดของสงครามเย็นได้แก่
การปรับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากีบจีนคอมมิวนิสต์ ค.ศ. 1972 โดยประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon) ของสหรัฐอเมริกา เดินทางไปเยือนปักกิ่ง ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาค่อยๆ ถอนทหารออกจากเวียดนาม และทำให้สงครามเวียดนามยุติลง
53ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ของสหรัฐอเมริกาเดินทางไปเยือน
และเข้าพบ เหมา เจ๋อตง ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน ค.ศ. 1972
การประชุมสุดยอดเบรซเนฟ – นิกสัน (Brezhnev’ – Nixon Summit 1972) ระหว่างนายกรัฐมนตรีเบรซเนฟของสหภาพโซเวียตและประธานาธิบดีนิกสันส่งผลให้มีการลงนามในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ 2 ครั้ง (Strategic Arms Limitation Talks = SALT) ใน ค.ศ. 1972 และค.ศ. 1979
นโยบายเปเรสทอยกาและกลาสนอส (Perestoika – Glasnos ค.ศ. 1985) เริ่มในสมัยของนายกรัฐมนตรีกอร์บาชอพ (Gorbachev) แห่งสหภาพโซเวียต ซึ่งประกาศปฏิรูปประเทศตามแนวทางประชาธิปไตยและเปิดกว้างทางเศรษฐกิจ เป็นผลให้มีการผ่อนคลายความเข้มงวดของระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์โซเวียต ทำให้ประเทศในยุโรปตะวันออกมีอิสระในการกำหนดระบอบปกครองของตนเอง ซึ่งส่วนใหญ่เลือกวิถีทางเสรีประชาธิปไตย
การทำลายกำแพงเบอร์ลินและการรวมเยอรมนี ค.ศ. 1989 เยอรมนีตะวันตกและเยอรมนีตะวันออกได้รวมประเทศทำให้การเผชิญหน้าอันยาวนานระหว่างยุโรปตะวันตกและยุโรปตะวันออกยุติลง
ระบอบสหภาพโซเวียตล่มสลาย ค.ศ. 1991 ถือว่าเป็นการยุติสงครามเย็นที่ยาวนานและตึงเครียดหลังจากนั้นรัฐต่างๆ ที่เคยอยู่ภายใต้ระบอบสหภาพโซเวียตก็แยกเป็นรัฐอิสระ ส่วนศูนย์ฏกางการปกครองสหภาพโซเวียตเดิมก็คือประเทศรัสเซียในปัจจุบัน
เหตุการณ์ความขัดแย้งของมนุษยชาติในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่กล่าวมาข้างต้น มีความรุนแรงก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างมหาศาลต่อประชาคมโลก ทั้งยังมีผลกระทบสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เหตุการณ์เหล่านี้เป็นบทเรียนจากประวัติศาสตร์ที่ควรแก่การศึกษาและเผยแพร่เพื่อให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงผลที่เกิดขึ้นต่อสังคมและมนุษยชาติในปัจจุบัน