วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง

กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแห่งที่ 2 ของประเทศไทย โดยเป็นศูนย์กลางในด้านต่างๆถึง 417 ปี เป็นเมืองหลวงที่อายุยาวที่สุดของไทย

โดยมีกษัตริย์ทั้งสิ้น 33 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย

ราชวงศ์ปราสาททองและราชวงศ์บ้านพลูหลวง เป็นอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองทั้งด้านการทหาร

ด้านการทูตและด้านเศรษฐกิจที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยนั้น มีการเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าถึงสองครั้ง ครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2112

โดยพระเจ้าบุเรงนอง และครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 โดยพระเจ้ามังระ


เหตุการณ์ก่อนเสียกรุงครั้งที่ 1

ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ กษัตริย์พระองค์ที่ 15 ของอาณาจักรอยุธยา ได้ทำสงครามกับพระเจ้าบุเรงนองของพม่า

คือสงครามช้างเผือก ผลปรากฏว่าอยุธยาเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ อยุธยาจำต้องเสียช้างเผือกไปถึง 4 เชือก

ให้พระราเมศวร พระราชโอรสองค์โตในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระสุริโยทัย, พระสุนทรสงครามและพระยาจักรีไปเป็นตัวประกัน


ต่อมา สมเด็จพระไชยเชษฐาแห่งอาณาจักรล้านช้าง ได้ส่งสาส์นมาสู่ขอพระเทพกษัตรี พระธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิไป

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงเห็นแก่ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักร จึงได้พระราชทานไป แต่ระหว่างทางกลับถูกพม่าชิงตัวไป

เพราะพระมหาธรรมราชาได้แจ้งข่าวแก่พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง


ในปี พ.ศ. 2111 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสด็จสวรรคต ในช่วงของสงครามครั้งนี้

สมเด็จพระมหินทราธิราชจึงเสด็จขึ้นครองบ้านเมืองในปกครองของกรุงศรีอยุธยา แม้กระทั่งเมืองพิษณุโลกสองแคว

แต่ก็ยังไม่สามารถตีกรุงศรีอยุธยาให้แตกได้โดยเร็ว สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง

ได้เสด็จยกมาช่วย แต่ก็ถูกพม่าตีแตกพ่ายที่สระบุรี พระยาจักรี เป็นผู้เห็นแก่ทรัพย์ที่พระเจ้าบุเรงนองประทานให้ผู้ที่คิดแผนตีกรุงศรีอยุธยาลงได้

จึงเสนอตัวเป็นหนอนบ่อนไส้ในพระนคร ทำทีเป็นว่าลอบหนีมาจากกรุงหงสาวดีได้ พระมหินทราธิราชไว้พระทัยต่อพระยาจักรี

จึงทรงให้ดำรงตำแหน่งเป็นแม่ทัพใหญ่ พระยาจักรีจึงวางอุบายให้ทหารที่มีความสามารถไปประจำกองที่ไม่มีความสำคัญ

และให้ทหารที่ไร้ฝีมือมาเป็นทัพหน้ารบกับกองทัพของพระเจ้าบุเรงนอง แม่ทัพนายกองที่พอจะมีฝีมือก็หาเรื่องใส่ความให้ต้องโทษขังหรือเฆี่ยน

เพียงไม่นานนัก กรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พม่าเป็นครั้งแรก

ต่อมา พระยาจักรีกลับไปเข้าเฝ้าพระเจ้าบุเรงนอง พระองค์ทรงมีพระราชโองการให้ประหารชีวิตพระยาจักรี เนื่องจากการเป็นกบฎ

กล่าวคือ พระยาจักรีนั้น ทำได้แม้กระทั่งทรยศบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง แล้วต่อไปในภายภาคหน้าก็คงจะสามารถทรยศกรุงหงสาวดีได้เช่นกัน

โดยตอกมือไว้กับหีบของรางวัลที่บุเรงนองประทานให้แล้วจับถ่วงน้ำ


เหตุการณ์หลังเสียกรุงครั้งที่ 1

สมเด็จพระมหินทราธิราช ถูกพาตัวไปที่กรุงหงสาวดีแต่ประชวรสวรรคตระหว่างทางไปกรุงหงสาวดี

โดยพระเจ้าบุเรงนองตั้งให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ของอยุธยา ซึ่งมาจากราชวงศ์สุโขทัย

แล้วนำพระราชโอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชาไปเลี้ยงดู ซึ่งพระราชโอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชาคนนั้นคือสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ซึ่งต่อมาในภายหลังเป็นผู้นำที่ทำสงครามกับพม่านำอิสรภาพมาสู่สยาม


การประกาศอิสรภาพ

ในปี พ.ศ. 2127 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง พ้นจากการเป็นประเทศราชของพม่าตั้งแต่บัดนั้น

(รวมเวลาที่เป็นเมืองขึ้นของพม่า 15 ปี) เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น3ปีหลังจากพระเจ้าบุเรงนองประชวรและสวรรคตลงในปีพ.ศ. 2124

และมังไชยสิงห์ ราชบุตรองค์โตของพระเจ้าบุเรงนองที่รัชทายาทขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้านันทบุเรงแต่พระเจ้าอังวะ

พระญาติประกาศแข็งเมืองพระเจ้านันทบุเรงจึงบัญชาให้ พระเจ้าแปร พระเจ้าตองอู (พระสังกทัต)

พระเจ้าเชียงใหม่ (อโนรธามังสอพระราชอนุชาของพระเจ้านันทบุเรง) พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต (พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช)

และสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชยกกองทัพไปตีกรุงอังวะพระเจ้านันทบุเรงจึงทรงมีรับสั่งให้พระมหาอุปราชา

ที่ทรงโปรดให้รักษากรุงฯว่าถ้าสมเด็จพระนเรศวรทรงยกกองทัพมาถึงหงสาวดีให้ฆ่าเสีย

(สาเหตุที่ทรงยกทัพมาแทนเนื่องจากพระมหาธรรมราชาทรงพระชราและพระนเรศวรทรงทูลขอออกรบเอง)

ทุกเมืองยกกองทัพไปหมดแล้วแต่พระนเรศวรทรงเห็นว่าอยุธยาถึงเวลาที่จะเป็นเอกราชเสียทีจึงทรงยาตราทัพออกจากเมืองพิษณุโลกไปอย่างช้าๆ

ถึงเมืองแครง โดยพระองค์ทรงหวังว่าถ้าพระเจ้าหงสาวดีแพ้ก็จะโจมตีกรุงหงสาวดีซำเติมหากทัพหงสาฯชนะก็จะกวาดต้อนครัวไทย

ที่อยู่ที่ชายแดนพม่ามาไว้เป็นกำลังของพระองค์สืบไปส่วนพระมหาอุปราชา ทรงทราบว่าสมเด็จพระนเรศวรยกกองทัพมา

จึงโปรดให้ขุนนางมอญสองคนคือพระยาเกียรติ์และพระยารามศิษย์พระอาจารย์เดียวกันกับพระนเรศวรคือพระมหาเถรคันฉ่องออกมาต้อนรับ

โดยทรงสั่งว่าเมื่อสมเด็จพระนเรศวรมาถึงหงสาวดีพระองค์ (พระมหาอุปราชา)

จะเข้าโจมตีจากข้างหน้าและให้พระยาอย่างเปิดเผยพระองค์จึงเรียกประชุม

แม่ทัพนายกองทั้งหมดและนิมนต์พระมหาเถรคันฉ่องและพระสงฆ์ในวัดนั้นมาเป็นประธาน

และทรงเล่าเรื่องที่พระเจ้านันทบุเรงคิดปองร้ายพระองค์แล้วพระองค์จึง หลั่งน้ำจากสุวรรณภิงคาร (น้ำเต้าทอง)

ลงสู่พื้นพสุธาและประกาศแก่เทพยดาฟ้าดินและผู้คนในที่นั้นว่า "ตั้งแต่วันนี้กรุงศรีอยุธยาขาดไมตรีกับกรุงหงสาวดีมิได้เป็นมิตรดังแต่ก่อนสืบไป"

เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2127 หลังประกาศเสร็จแล้วทรงตรัสถามชาวเมืองมอญว่าจะมาเข้ากับฝ่ายไทยไหมชาวมอญทั้งหลาย

ก็พร้อมใจกันเข้ากับฝ่ายไทยและทรงจัดทัพบุกตรงไปกรุงหงสาวดีแต่พอข้ามแม่นำสะโตงไปม้าเร็วก็มารายงานพระองค์

ว่าพระเจ้าหงสาวดีได้ชัยชนะเหนือพระเจ้าอังวะและยกทัพกลับจวนถึงหงสาวดีอยู่แล้วเห็นไม่

สมควรจึงทรงกวาดต้อนครัวไทยครัวมอญกลับอยุธยาพร้อมพระองค์พระมหาอุปราชา

เมื่อทรงทราบว่าพระยามอญทั้งสองไปสวามิภักดิ์กับสมเด็จพระนเรศวรก็ทรงพิโรธ และทราบว่าพระนเรศวรทรงถอยทัพกลับ

จึงทรงบัญชาให้สุรกรรมาคุมทัพมาสกัดแต่พระนเรศวรทรงข้ามแม่นำสะโตงไปแล้วทั้งสองทัพเผชิญหน้ากัน

แต่แม่น้ำสะโตงกว้างทั้งสองจึงยิงไม่ถึงกันพระนเรศวร ทรงมีพระแสงปืนอยู่กระบอกหนึ่งมีความยาวเก้าคืบยิงถูกสุรกรรมาแม่ทัพพม่า

ตายคาคอช้างทหารเห็นแม่ทัพตายก็เสียขวัญถอยทัพกลับไปรายงานพระมหาอุปราชาให้ทรงทราบ

ส่วนพระนเรศวรทรงเดินทัพกลับกรุงศรีอยุธยาโดยสวัสดิภาพพระแสงปืนกระบอกนั้น มีชื่อว่า "พระแสงปืนข้ามแม่นำสะโตง"

เมื่อทรงถึงอยุธยาก็ทรงเข้าเฝ้าพระราชบิดารายงานเรื่อง ทั้งหมดให้ทรงทราบสมเด็จพระมหาธรรมราชาจึงทรงปูนบำเหน็จมอญที่สวามิภักดิ์

และทรงแต่งตั้งพระมหาเถรคันฉ่องเป็นที่สังฆราชส่วนพระยาเกียรติและพระยาราม ให้มีตำแหน่งได้พระราชทานพานทองคุมกองทัพมอญ

ที่สวามิภักดิ์พระราชทานบ้านทีอยู่อาศัยในพระนคร พร้อมกันนั้นได้ทรงมอบพระราชอาญาสิทธิ์แก่สมเด็จพระนเรศวรในการบัญชาการรบ


เพื่อที่จะตระเตรียมกำลังคนและอาวุธไว้รับมือพม่า



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น