วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เป็นความขัดแย้งระหว่างอาณาจักรพม่ากับอาณาจักรอยุธยา ในการทัพคราวนี้ กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน ตรงกับวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 อันเป็นรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศแห่งอาณาจักรอยุธยา และพระเจ้ามังระของอาณาจักรพม่าแผนปฏิบัติการของกองทัพพม่าเริ่มจากการเข้าตีหัวเมืองทางเหนือ ทางตะวันตกและทางใต้ของอาณาจักรอยุธยา ก่อนจะเข้าปิดล้อมพระนครในขั้นสุดท้าย ส่วนผู้ปกครองอยุธยาเลือกที่จะใช้ยุทธวิธีตั้งรับอยู่ในกรุงในฤดูน้ำหลาก แต่เนื่องจากกองทัพพม่าได้เปลี่ยนยุทธวิธีของตนใหม่ จึงทำให้ยุทธวิธีของอยุธยาไม่ได้ผลอย่างในอดีต จนกระทั่งนำไปสู่การเสียกรุงศรีอยุธยาในที่สุด ภายหลังการปิดล้อมนาน 14 เดือน ซึ่งเป็นสาเหตุซึ่งนำไปสู่การเสียกรุงด้วยเหตุผลทางด้านยุทธวิธีจากการเสียกรุงในครั้งนี้ นอกจากจะส่งผลให้อาณาจักรอยุธยา ซึ่งเป็นราชธานีของคนไทยกว่า 417 ปี ล่มสลายลงแล้ว ยังส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมืองในระดับต่างๆ จนแทบนำไปสู่การล่มสลายของรัฐไทยเลยทีเดียว ซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงสร้างความเป็นปึกแผ่นและฟื้นฟูความเจริญรุ่งเรืองของชาติขึ้นอีกครั้งในรัชสมัยของพระองค์ อันเป็นพระราชกรณียกิจหลักก่อนการเสียกรุงครั้งที่สองสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ เมื่อยังไม่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ มีพระนามเดิมว่า กรมขุนอนุรักษ์มนตรี ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมโกศโดยที่สมเด็จพระเจ้าบรมโกศทรงพระราชดำริว่ากรมขุนอนุรักษ์มนตรีเป็นผู้ซึ่ง ไม่มีความเหมาะสมที่จะขึ้นครองราชย์ ครั้นเมื่อสมเด็จพระมหาอุปราช บุตรองค์แรกต้องพระราชอาญาสิ้นพระชนม์ จึงทรงข้ามไปโปรดฯ ให้พระราชโอรสองค์ที่ 3 คือ เจ้าฟ้าอุทุมพร ทรงเป็นพระมหาอุปราชแทนพอสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ และเจ้าฟ้าอุทุมพรทรงราชาภิเษกเป็นสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรไม่ถึง 3 เดือน เจ้าฟ้าเอกทัศน์ กรมขุนอนุรักษ์มนตรีก็ตั้งพระองค์เองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่ง ทำให้พระเจ้าลูกเธอทั้ง 3 พระองค์ไม่พอพระทัยคิดจะก่อกบฏ แต่ถูกจับได้จึงถูกประหารชีวิตทั้งหมด ส่วนสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรทรงตัดสินพระทัยด้วยเหตุผลส่วนพระองค์ไปผนวชเสียสภาพบ้านเมืองรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2301 เป็นรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ กษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีหลักฐานบรรยายสภาพบ้านเมืองในช่วงเวลานั้นอยู่หลายมุมมอง ซึ่งที่ปรากฏในพงศาวดารและหลักฐานไทยในสมัยหลังส่วนใหญ่อธิบายไว้ว่า ในรัชสมัยของพระองค์ ข้าราชการเกิดความระส่ำระสาย มีบางคนลาออกจากราชการ โดยบาทหลวงฝรั่งเศสได้เขียนจดหมายเหตุไว้ในตอนนั้นว่า "บ้านเมืองแปรปรวน เพราะฝ่ายใน (พระราชชายา) ได้มีอำนาจเท่ากับพระเจ้าแผ่นดิน ผู้มีความผิดฐานกบถ ฆ่าคนตาย เอาไฟเผาบ้านเรือน จะต้องได้รับโทษถึงประหารชีวิต แต่ความโลภของฝ่ายในให้เปลี่ยนเป็นริบทรัพย์สิน ริบได้ก็ตกเป็นของฝ่ายในทั้งสิ้น พวกข้าราชการเห็นความโลภของฝ่ายใน ก็แสวงหาผลประโยชน์กับผู้ต้องหาคดีให้ได้มากที่สุดที่จะหาได้ จะได้แบ่งเอาบ้าง ความเดือดร้อนลำเค็ญก็ยิ่งทับถมราษฎรมากขึ้น" เป็นต้น ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งได้กล่าวถึงพระราชกรณียกิจของพระองค์ที่ถูกมองข้าม และมิได้มองว่าพระองค์มีความประพฤติเช่นนั้นเลย โดยมีบันทึกว่าพระองค์ "ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา บ้านเมืองสงบ การค้าขายเจริญ ทรงบริจาคทรัพย์ให้แก่คนยากจนจำนวนมาก" เป็นต้นในแง่เศรษฐกิจ เศรษฐกิจของอาณาจักรอยุธยามีความตกต่ำลงเนื่องจากของป่า ซึ่งเคยเป็นสินค้าส่งออกสำคัญที่สร้างรายได้ให้กับรัฐบาลมานานนับศตวรรษ กลับส่งออกขายต่างประเทศได้น้อยลง อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านนโยบายทางการเมืองในประเทศ ซึ่งไม่เป็นมิตรกับชาวต่างชาติ และความต้องการของตลาดต่างประเทศที่ลดลง โดยทั้งพ่อค้าจากมหาสมุทรอินเดีย จีน ญี่ปุ่น และชาติตะวันตกต่างก็ลดปริมาณซื้อขายลง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ระบบป้องกันอาณาจักรอ่อนแอก็เป็นได้การรุกรานในสมัยของพระเจ้าอลองพญาในปี พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญา ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์อลองพญา ได้ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ เพื่อแผ่อิทธิพลเข้าไปในมะริดและตะนาวศรี และกำจัดภัยคุกคามจากอยุธยาที่มักจะยุให้หัวเมืองพม่าที่อยู่ไกลกระด้างกระเดื่องอยู่เสมอ หรือไม่พระองค์ก็ทรงเห็นว่าอาณาจักรอยุธยามีความอ่อนแอนั้นเอง ซึ่งก่อนหน้านี้ อาณาจักรอยุธยาว่างศึกจากอาณาจักรพม่ามาเป็นเวลานานกว่า 150 ปีแล้วแต่ทว่ากองทัพพม่าไม่สามารถตีได้กรุงศรีอยุธยาได้ในการทัพครั้งนี้ เนื่องจากการสวรรคตของพระเจ้าอลองพญา อันทำให้กองทัพพม่ายกกลับไปเสียก่อน ซึ่งในหลักฐานของฝ่ายไทยและฝ่ายพม่าได้บันทึกไว้แตกต่างกันถึงสาเหตุการสวรรคต ฝ่ายไทยบันทึกว่าเป็นเพราะต้องสะเก็ดปืนที่แตกต้องพระองค์ ส่วนฝ่ายพม่ากล่าวว่า พระองค์ประชวรด้วยโรคบิดสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ซึ่งเคยทรงตัดสินพระทัยปลีกพระองค์ไปผนวช ด้วยไม่มีพระราชประสงค์ในบัลลังก์ แต่ได้กลับมาราชาภิเษกอีกหนหนึ่งเพื่อบัญชาการรบในสมัยสงครามพระเจ้าอลองพญา ตามคำทูลเชิญของพระเชษฐานั้นด้วย แต่ในยามสงบ หลังจากกรุงศรีอยุธยาว่างศึกหลังจากสิ้นรัชสมัยพระเจ้าอลองพญาแล้ว พระเจ้าเอกทัศกลับทรงแสดงพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์อีก พระองค์จึงตัดสินพระทัยลาผนวชและไม่ยอมสึกหลังจากนั้นอีกเลย แม้ว่าในระหว่างการทัพคราวต่อมา จะมีราษฎรและข้าราชการทั้งหลายมีความต้องการให้พระองค์ลาผนวชกลับมาป้องกันบ้านเมืองก็ตาม พระองค์จึงทรงได้รับสมัญญานามว่า "ขุนหลวงหาวัด"สาเหตุที่นำไปสู่การรุกรานในรัชสมัยพระเจ้ามังระความคิดที่จะตีอาณาจักรอยุธยาของพระเจ้ามังระอาจมีนับตั้งแต่เสด็จขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระเชษฐาในปี พ.ศ. 2306 โดยก่อนหน้านั้นพระองค์เคยเสด็จมาในกองทัพของพระเจ้าอลองพญาในการรุกราน ครั้งก่อนด้วย หลังจากที่เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ ด้วยความที่ทรงเคยมีประสบการณ์ในการรบครั้งก่อน จึงทำให้ทรงรู้จุดอ่อนของอาณาจักรอยุธยาพอสมควร และพระองค์ก็ได้ตระเตรียมงานเพื่อการสงครามได้อย่างเหมาะสมในรัชกาลของพระเจ้ามังระนั้น มีการปราบกบฏในแว่นแคว้นต่างๆ และพระองค์ก็ทรงเห็นความจำเป็นที่จะต้องลดอำนาจของกรุงศรีอยุธยาลงจนแตกสลายหรืออ่อนแอจนไม่อาจเป็นที่พึ่งให้กับหัวเมืองที่คิดตีออกห่างได้อีก โดยมิใช่การขยายอาณาเขตอย่างเคย โดยในเวลาไล่เลี่ยกัน หัวเมืองล้านนาและหัวเมืองทวายที่ก่อกบฎและคิดตีออกห่าง ทำให้พระองค์ต้องส่งกองทัพไปปราบกบฎสำหรับสาเหตุด้านอื่นๆ ที่พอจะประมวลได้ เช่น การไม่ส่งตัวหุยตองจาคืนแก่พม่าเมื่อพม่าร้องขอมา (ตามความเข้าใจของชาวกรุงเก่า), ความต้องการเป็นใหญ่เทียบเท่าพระเจ้าบุเรงนองของพระเจ้ามังระ, การไม่ยอมส่งเครื่องราชบรรณาการของอยุธยา ซึ่งเป็นไปตามการตกลงหลังเสร็จสิ้นการรุกรานของพระเจ้าอลองพญา (ปรากฏใน The Description of the Burmese Empire) หรือไม่ก็พระเจ้ามังระทรงเห็นว่าอาณาจักรอยุธยามีความอ่อนแอ และสบโอกาสจะยกทัพเข้ามาปล้นเอาทรัพย์สมบัติเท่านั้น และยังเป็นการเตรียมตัวรับศึกกับจีนเพียงด้านเดียวด้วย
การทัพ
แผนการและการจัดเตรียม
ฝ่ายพม่า
ในพงศาวดารฉบับหอแก้วและคองบองได้ระบุว่า พระเจ้ามังระทรงดำริว่า หากจะส่งเนเมียวสีหบดีนำกองทัพไปทำสงครามกับอยุธยาเพียงด้านเดียวเห็นจะไม่พอ จึงโปรดให้มังมหานรธานำทัพรุกรานมาอีกด้านหนึ่งด้วย โดยก่อนหน้านั้น กองทัพทั้งสองได้รับมอบหมายให้บรรลุภารกิจอื่นเสียก่อน คือ การปราบกบฎต่อรัฐบาลพม่า ทั้งทางเหนือและทางใต้ ซึ่งจะเป็นการช่วยเสริมความสำเร็จให้แก่เป้าหมายหลักในการเข้าตีกรุงศรีอยุธยาฝ่ายเนเมียวสีหบดีมีหน้าที่ปราบกบฎในแคว้นล้านนา กองทัพเนเมียวสีหบดีเคลื่อนไปกะเกณฑ์ผู้คนทางหัวเมืองชาน แล้วจึงยกจากเมืองเชียงตุงเข้าสู่เมืองเชียงใหม่ และสามารถปราบปรามกบฎลงได้อย่างราบคาบ และภายในฤดูฝนของ พ.ศ. 2307 ได้ยกขึ้นไปปราบเมืองล้านช้างได้ทั้งหมด ก่อนจะมีจัดเตรียมการยกเข้าตีกรุงศรีอยุธยาที่เมืองลำปาง และเริ่มเคลื่อนทัพเมื่อฤดูแล้งของ พ.ศ. 2308ฝ่ายทัพมังมหานรธา ราว พ.ศ. 2307 มีภารกิจที่ต้องปราบกบฏที่ทวาย ต่อมาสามารถโจมตีลึกเข้าไปถึงเพชรบุรีได้โดยสะดวก แต่ถูกขัดขวางต้องยกทัพกลับ แต่อยุธยาได้เสียทวายกับตะนาวศรีเป็นการถาวร หลังจากที่ได้พักค้างฝนที่ทวายใน พ.ศ. 2308 พร้อมกะเกณฑ์ไพร่พลจากหงสาวดี เมาะตะมะ มะริด ทวายและตะนาวศรีเข้า สมทบในกองทัพ จนย่างเข้าหน้าแล้งของ พ.ศ. 2308 จึงได้เคลื่อนทัพเข้าสู่อาณาจักรอยุธยาตามนัดหมายในเวลาใกล้เคียงกับทัพของเนเมียวสีหบดี
ฝ่ายอยุธยา
ทางด้านการปฏิบัติของอาณาจักรอยุธยาระหว่างการทัพทั้งสองนั้น กษัตริย์อยุธยาได้ทรงส่งกองทัพมาช่วยเหลือเชียงใหม่ให้เป็นกบฎต่อพม่า และช่วยหัวเมืองมอญที่เมืองทวายให้ประกาศอิสรภาพ ทำให้กองทัพพม่าต้องส่งกองทัพไปตีดินแดนทั้งสองคืน เลยไปจนถึงอาณาจักรล้านช้าง เพื่อตัดชัยชนะของกรุงศรีอยุธยา และในการรุกรานกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระเจ้ามังระ กองทัพอยุธยาก็ยังคงเตรียมตัวรับกองทัพพม่าในพระนครอีกเช่นเดิมอย่างไรก็ตาม อยุธยาเองก็เห็นว่ายุทธศาสตร์การตั้งรับในพระนครเห็นจะไม่ไหว จำต้องไม่ให้ข้าศึกประชิดพระนครอย่างยุทธศาสตร์ของสมเด็จพระนเรศวร เพียงแต่ว่าระบบป้องกันตนเองของอยุธยามีจุดอ่อนมาก่อนแล้ว จึงทำให้รัฐบาลต้องเตรียมการป้องกันพระนครควบคู่ไปด้วย ดังที่เห็นได้จากการเตรียมเสบียงอาหารและเกณฑ์กองทัพหัวเมือง เพียงแต่ว่าการเกณฑ์กองทัพหัวเมืองได้ทหารจำนวนไม่มากนัก ซึ่งคงเป็นผลมาจากระบบป้องกันตนเองที่มีปัญหานั่นเอง
การตีหัวเมืองรอบนอก
กองทัพฝ่ายเหนือของอาณาจักรพม่า ภายใต้การบัญชาการของเนเมียวสีหบดี ได้จัดแบ่งกำลังพลออกเป็นทัพบกและทัพเรือ ทั้งหมดยกออกจากลำปางในเดือนกันยายน พ.ศ. 2308 มุ่งเข้าตีเมืองตาก ระแหง กำแพงเพชร สวรรคโลก สุโขทัย ยะตะมาหรือระตะมะและพิษณุโลกตามลำดับ (ส่วนในหลักฐานไทยไม่มีระบุว่า กองทัพพม่ายกเข้าตีเมืองพิษณุโลก) ในบรรดาเมืองเหล่านี้ เจ้าเมืองระแหงและกำแพงเพชรยอมอ่อนน้อมต่อข้าศึก เสร็จแล้ว เนเมียวสีหบดีจึงตั้งกองบัญชาการกองทัพเอาไว้ หลังจากนั้นก็ได้แบ่งกำลังออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งมีติรินานตะเตงจานและจอคองจอตูเป็นแม่ทัพ ให้ตีเมืองละเลง พิชัยธานี นครสวรรค์ และอ่างทองต่อไปส่วนกองทัพฝ่ายใต้ ภายใต้การบัญชาการของมหานรธา ยกมาจากทวายมา สามารถตีเมืองเพชรบุรีได้ภายในระยะเวลาอันสั้น จากนั้นจึงเคลื่อนมายังราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ไทรโยค สวานโปง และซาแลงตามลำดับ ซึ่งในจำนวนนี้ เมืองที่เจ้าเมืองยอมอ่อนน้อมต่อกองทัพพม่า ได้แก่ เมืองราชบุรี เมืองสุพรรณบุรี และเมืองไทรโยค เมื่อมาถึงเมืองซาแลง มหานรธาสั่งจัดทัพใหม่ขึ้น โดยเลือกไพร่พล ช้างและม้าจากเมืองต่าง ๆ ให้เมจขี กามะณีสานตะคุมไปเป็นทัพหน้า และมหานรธาคุมกองทัพตามไป ทั้งหมดมุ่งหน้าต่อไปยังกรุงศรีอยุธยาทางด้านในกรุงได้ส่งกองทัพออกไปรับกองทัพเนเมียวสีหบดีที่ปากน้ำประสบ ริมแม่น้ำลพบุรีเก่าหรือโพธิ์สามต้น มีพระยากูระติเป็นแม่ทัพบก พระยาคะรานหรือพระยากลาโหมเป็นแม่ทัพเรือ กองทัพอยุธยาถูกตีแตก พม่าสามารถริบไพร่พลและยุทธปัจจัยเป็นจำนวนมาก อีกทั้งพระยากลาโหมก็ตกเป็นเชลย แล้วจึงยกกองทัพมาตั้งยังปากน้ำประสบ ราวเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2309 ในเวลาไล่เลี่ยกันนั้น ในกรุงก็ได้ส่งพระยาพลเทพออกรับกองทัพมังมหานรธาที่เมืองสีกุก กองทัพพม่ารบชนะได้เคลื่อนไปตั้งยังหมู่บ้านกานนี จนเมื่อทราบว่าทัพเนเมียวสีหบดีมาถึงชานพระนครแล้วจึงย้ายมาตั้งประชิดที่ด้านหลังของพระมหาเจดีย์ภูเขาทอง ในระยะไม่เกิน 1.25 ไมล์จากกำแพงพระนคร (ในพงศาวดารไทยบันทึกไว้ว่า ตอกระออมและดงรักหนองขาว)หลักที่กองทัพทั้งสองของพม่าใช้ในการปราบปรามหัวเมืองทั้งหลายนั้นตรงกัน คือ "หากเมืองใดต่อสู้ก็จะปล้นสะดมริบทรัพย์จับเชลย เป็นการลงโทษเมื่อตีเมืองได้ เมืองใดยอมอ่อนน้อมแต่โดยดีก็เพียงแต่กะเกณฑ์ผู้คนเสบียงอาหารใช้ในกองทัพโดยไม่ลงโทษ" นอกจากนี้พม่ายังใช้การกระจายกำลังออกเกลี้ยกล่อมผู้คนพลเมืองทั่วไปในท้อง ถิ่นภาคกลางฝั่งตะวันตกลุ่มน้ำเจ้าพระยา จึงทำให้คนไทยที่เดือดร้อนไปเข้ากับพม่าเป็นอันมา
การปิดล้อมกรุงศรีอยุธยา
พระเจ้าเอกทัศโปรดให้รวบรวมประชาชนและเสบียงเข้ามาไว้ในพระนคร และเตรียมการป้องกันไว้อย่างแน่นหนา โดยรอคอยฤดูน้ำหลากและอาศัยยุทธวิธีคอยตีซ้ำเมื่อกองทัพพม่าถอนกำลังออกไป อย่างไรก็ตาม ฝ่ายอยุธยาก็มิได้ตั้งรับอยู่ในพระนครแต่เพียงฝ่ายเดียว ยังส่งกำลังออกไปโจมตีค่ายเนเมียวสีหบดีและค่ายมังมหานรธาอยู่หลายครั้ง ส่วนทางด้านกองทัพพม่ากระจายกำลังออกล้อมกรุงเอาไว้ทุกด้าน พยายามเข้าประชิดกำแพงพระนครหลายครั้งก็ไม่ประสบผล จึงยังมีราษฎรหลบหนีภัยพม่าเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงอยู่เสมอมา สำหรับเสบียงอาหารในกรุงก็ยังคงบริบูรณ์ดีอยู่ ดังปรากฏในจดหมายเหตุของบาทหลวงฝรั่งเศสว่า "...เมื่อพม่าเข้าตั้งประชิด พระนครและล้อมกรุงอย่างกวดขันขึ้นตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2309 นั้น เสบียงอาหารในกรุงก็ยังบริบูรณ์ดี มีแต่ขอทานเท่านั้นที่อดตายครั้นเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก มังมหานรธาให้กองทัพรวบรวมเสบียงอาหารสำรองไว้ใช้ ให้ทหารปลูกข้าวในที่นาละแวกใกล้เคียง อีกทั้งให้ทหารไปสร้างป้อมค่ายในระยะที่น้ำไม่ท่วมถึง พร้อมกับตั้งเจตนาแน่วแน่ไม่ปล่อยให้กรุงศรีอยุธยาพ้นมือเป็นอันขาด ในระหว่างวันที่ 5-10 หลังฤดูน้ำหลาก กองทัพอยุธยาถูกส่งออกไปโจมตีค่ายมังมหานรธาและค่ายเนเมียวสีหบดี ครั้งแรกมีพระยาตานและครั้งที่สองมีพระยากูระติเป็นแม่ทัพตามลำดับ แต่ก็ถูกตีแตกกลับมาทั้งสองครั้ง ในกรุงจึงเตรียมการป้องกันพระนครอย่างแน่นหนาแทนหลังฤดูน้ำหลากผ่านพ้นไป อยุธยาพยายามที่จะตีค่ายพม่าพร้อมกับสร้างแนวปะทะใหม่ขึ้น โดยส่งพระยาไต๊ตี
ค่ายมังมหานรธา
และส่งพระยาพระนริศตีค่ายเนเมียวสีหบดี แต่ก็ถูกตีแตกกลับมาทั้งสองทาง พระเจ้าเอกทัศจึงโปรดให้เพิ่มการป้องกันให้แน่นหนาขึ้น และที่สำคัญที่สุด คือ การสร้างค่ายล้อมกรุงเอาไว้ทุกด้าน ฝ่ายพม่าก็พยายามเคลื่อนเข้าใกล้กำแพงพระนครขึ้นทุกขณะ เมื่อถึงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2309 ฝ่ายพม่าก็เข้ามาตั้งติดกำแพงพระนครห่างกันเพียงแค่ระยะปืนใหญ่ในระหว่างที่อยู่ภายใต้วงล้อมนี้ การวางแนวปะทะของอยุธยาไม่สามารถพลิกผลของสถานการณ์ได้เลย ในพระนครเริ่มขาดแคลนอาหาร ประสิทธิภาพและขวัญกำลังใจของกองทัพเสื่อมโทรม มังมหานรธาเสนอในที่ประชุมแม่ทัพนายกองแนะให้ใช้อุบายลอบขุดอุโมงค์เข้าไปในกรุง พร้อมกับสร้างค่ายทหารขึ้น 27 ค่ายล้อมรอบพระนคร ซึ่งรวมไปถึงเพนียด วัดสามพิหาร วัดมณฑบ วัดนางปลื้ม และวัดศรีโพธิ์ เพื่อจะได้ยิงปืนใหญ่ด้วยความแม่นยำยิ่งขึ้น อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่กองทัพหัวเมืองทางเหนือราว 20,000 นาย มาช่วยอยุธยา แต่ก็ถูกตีแตกกลับไปอย่างง่ายดายภายหลังความพ่ายแพ้ในการรบทางเรืออย่างบอบช้ำ ฝ่ายผู้ปกครองอยุธยาจึงแต่งทูตออกไปเจรจาขอเป็นเมืองขึ้นของพม่า แต่แม่ทัพพม่าก็ปฏิเสธ โดยอ้างพระบรมราชโองการของพระเจ้ามังระ ต่อมา ระหว่างเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ทหารพม่าก็เริ่มการขุดอุโมงค์ด้านหัวรอจำนวน 5 แห่งอย่างเป็นขั้นตอน โดยตั้งค่ายใหม่เพิ่มอีก 3 แห่ง พร้อมกับยึดค่ายป้องกันพระนครทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด และยึดค่ายป้องกันทางด้านทิศใต้ภายในเดือนมีนาคม ต่อมา ฝ่ายเนเมียวสีหบดีก็เสนอแก่นายกองทั้งหลายให้ใช้ไฟสุมเผารากกำแพงเมืองจาก ใต้อุโมงค์ซึ่งขุดไว้แล้ว จากนั้นก็ตกลงกันเตรียมเชื้อเพลิงและกำลังพลไว้พร้อม
เสียกรุงครั้นถึงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 เวลาประมาณบ่ายสามโมง พม่าจุดไฟสุมรากกำแพงเมืองตรงหัวรอที่ริมป้อมมหาชัย และยิงปืนใหญ่ระดมเข้าไปในพระนคร จากบรรดาค่ายที่รายล้อมทุกค่าย พอพลบค่ำกำแพงเมืองตรงที่เอาไฟสุมทรุดลง เวลา 2 ทุ่ม แม่ทัพพม่ายิงปืนเป็นสัญญาณให้ทหารเข้าพระนครพร้อมกันทุกด้าน พม่าเอาบันไดปีนพาดเข้ามาได้ตรงที่กำแพงทรุดนั้นก่อน ทหารอยุธยาที่รักษาหน้าที่เหลือกำลังจะต่อสู้ พม่าก็สามารถเข้าพระนครได้ในเวลาค่ำวันนั้นทุกทาง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น