วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

การปฏิวัติอุตสาหกรรม

การปฏิวัติอุตสาหกรรม

การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นการเปลี่ยนแปลงการผลิตจากการใช้แรงงานคน สัตว์ และพลังงานน้ำเป็นการผลิตโดยใช้เครื่องจักรและระบบโรงงาน เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติอย่างกว้างขวาง ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
ปัจจัยส่งเสริมการปฏิวัติอุตสาหกรรม
การปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มที่ประเทศอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 เนื่องจากขณะนั้นอังกฤษมีความพร้อมมากกว่าประเทศยุโรปอื่นๆ จึงสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมทอผ้าได้เป็นอันดับแรก โดยมีปัจจัยพื้นฐานที่ส่งเสริมการปฏิวัติอุตสาหกรรม ดังนี้
เครื่องจักร เป็นนวัตกรรมสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการผลิตแบบดั้งเดิมเป็นระบบอุตสาหกรรมการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องจักรเป็นผลสืบเนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีหลังการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ สิ่งประดิษฐ์ที่ส่งผลให้เกิดอุตสาหกรรมทอผ้าคือ เครื่องปั่นด้ายชื่อ สปินนิง เจนนี (Spinning Jenny) ของเจมส์ ฮาร์กรีฟส์ (James Hargreaves) ซึ่งใช้มือหมุนและเป็นแบบอย่างให้นักประดิษฐ์คนอื่นๆ นำไปพัฒนาเพิ่ม อีกไม่กี่ปีต่อมานักประดิษฐ์ชาวอังกฤษสามารถพัฒนาเครื่องทอผ้าโดยใช้พลังงานไอน้ำ เครื่องทอผ้าที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้ใช้เครื่องจักรไอน้ำแทนแรงงานคน และทอผ้าได้้เร็วกว่าการใช้มือหมุนถึง 200 เท่า ทำให้เกิดการผลิตแบบอุตสาหกรรม เป็นผลให้ผ้าฝ้ายมีราคาถูกลง สามารถขยายตลาดได้กว้างขวางเพราะประชาชนทั่วไปสามารถซื้อได้
SPINNING_JENNYวัตถุดิบ อังกฤษมีแหล่งวัตถุดิบที่สามารถรองรับการผลิตในระบบอุตสาหกรรมซึ่งต้องใช้วัตถุดิบจำนวนมาก แหล่งปลูกฝ้ายที่สำคัญสำหรับโรงงานทอผ้าในอังกฤษคือ มลรัฐภาคใต้ของสหรัฐอเมริกา อดีตอาณานิคมของอังกฤษในอเรมริกาเหนือ และอาณานิคมอินเดียของอังกฤษ
ทุน ความมั่งคั่งจากการค้าที่ขยายตัวอย่างกว้างขวาง ประกอบกับความก้าวหน้าของระบบธนาคารที่ให้นักลงทุนกู้ยืมเงิน ทำให้นายทุนชาวอังกฤษจำนวนมากสนใจลงทุนประกอบอุตสาหกรรมเพราะให้ผลตอบแทนจำนวนมาก จึงส่งผลให้อุตสาหกรรมในอังกฤษขยายตัว
แรงงาน การเพิ่มขึ้นของประชากรอันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางด้านสาธารณะสุขและการแพทย์ประกอบกับข้อจำกัดของพื้นที่เพาะปลูกทำให้เกษตรกรจำนวนมากหลั่งไหลเข้าเมืองเพื่อหางานทำ และเป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตและต้องการแรงงานจำนวนมาก แต่ได้ค่าแรงต่ำ
ตลาด การขายตัวของประชากรในอังกฤษ ยุโรป และการจับจองอาณานิคมของอังกฤษในอเมริกาเหนือและเอเชีย ทำให้อังกฤษมีลาดรองรับสินค้าอุตสาหกรรมทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งส่งเสริมให้อุตสาหกรรมทอผ้าและอุตสาหกรรมอื่นๆ ขยายตัว
นโยบายของรัฐบาล นโยบายของรัฐบาลอังกฤษ ทั้งนโยบายขยายอาณานิคมในดินแดนต่างๆ และการสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมซึ่งส่งเสริมให้มีการแข่งขันเสรีตามทฤษฎีของเอดัม สมิธ (Adam Smith) นักเศรษฐศาสตร์ชาวสกอตแลนด์ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศอังกฤษ เพราะทำให้เกิดการขยายตลาด แหล่งผลิตวัตถุดิบและทุนประกอบการซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
การขยายตัวองอุตสาหกรรม
ความสำเร็จของการพัฒนาอุตสาหกรรมทอผ้าเป็นผลให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆ ตามมา นอกจากนี้ยังทำให้มีการขยายตัวของอุตสาหกรรมในดินแดนอื่นด้วย
การพัฒนาอุตสาหกรรมประเภทอื่น การประดิษฐ์เครื่ิองจักรไอน้ำและเครื่องจักรและเครื่องจักรประเภทอื่นที่เกิดขึ้นตามมา ทำให้มีความต้องการใช้แร่เหล็กซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในการสร้างเครื่องจักรกลเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดอุตสาหกรรมเหมืองแร่ และอุตสาหกรรมถ่านหินซึ่งเป็นพลังงานที่ใช้กันแพร่หลายในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เนื่องจากขณะนั้นมีการพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆ เพิ่มขึ้นจำนวนมากเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น อุตสาหกรรมกระดษา กระสุนปืน สิ่งทอ รองเท้า สิ่งพิมพ์ ฯลฯ
8756การปฏิวัติอุตสาหกรรมในดินแดนอื่น ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อุตสาหกรรมเติบโตมากในดินแดนต่างๆ แม้ว่าอังกฤษยังคงเป็นผู้นำในครึ่งแรกของศตวรรษนี้ แต่หลังจากนั้นประเทศอื่นๆ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมณี และสหรัฐอเมริกา ต่างประสบความสำเร็จในพัฒนาอุตสาหกรรม สหรัฐอเมริกากลายเป็นผู้นำอุตสาหกรรมที่สำคัญของโลกตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา อนึ่ง เป็นที่สังเกตว่าความก้าวหน้าของการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นไปนั้น เป็นผลมาจากการคิดค้นและพัฒนาพลังงานอื่นๆ ได้แก่ แก๊สธรรมชาติ น้ำมันปิโตรเลียม และพลังงานไฟฟ้า นอกจากนี้ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและการจัดการด้านการผลิตของระบบโรงงานอุตสาหกรรมก็ส่งผลให้อุตสาหกรรมเจริญรุ่งเรืองด้วย
ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
การปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อประชาคมโลก ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม
ด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาอุตสาหกรรมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศอุตสาหกรรมและดินแดนอื่น ดังนี้
ประการแรก ทำให้ประเทศอุตสาหกรรมเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ กลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกที่มีอิทธิพลในการผูกขาดการค้าและการผลิตวัตถุดิบในประเทศอื่นๆ เช่น อังกฤษเข้าไปผูกขาดการผลิตใบชาในอินเดียและลังกา รวมทั้งการผลิดดีบุกและยางพาราในคาบสมุทรมลายู ส่วนสหรัฐอเมริกาก็ผูกขาดการทำเหมืองแร่ในละตินอเมริกา เป็นต้น
876ประการที่สอง ทำให้การค้าระหว่างประเทศขยายตัวอย่างกว้างขวาง ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจแบบทุนนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะระบบแข่งขันเสรีและระบบบริโภคนิยมที่ชาติตะวันตกนำเข้าไปเผยแพร่ในดินแดนต่างๆ ทั้งประเทศเสรีและอาณานิคมของชาติตะวันตก
ประการที่สาม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบผลิตในดินแดนต่างๆ กล่าวคือ ระบบผลิตที่ใช้แรงงานฝีมือและสินค้าหัตถกรรมในประเทศอุตสาหกรรมถูฏแทนที่ด้วยสินค้าอุตสาหกรรมที่มีต้นทุนต่ำและราคาถูก ทำให้งานช่างฝีมือที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยกลางสูญหายไป ส่วนดินแดนอาณานิคมและปรเทศเกษตรกรรมอื่นๆ มีการผลิตในระบบเศราฐกิจแบบพึ่งพา (ตลาดต่างประเทศ) มากขี้น เช่น การทำลายพื้นที่ป่าเพื่อปลูกใบชาในอินเดียและลังกา การขยาพื้นที่ทำนาในประเทศไทยหลังการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง และการทำป่าไม้ในพม่าและดินแดนล้านนาของไทย ระบบเศรษฐกิจดังกล่าวได้ทำลายระบบการผลิตแบบพึ่งตนเองของดินแดนเหล่านั้น ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายอย่างรวดเร็ว และมีผลกระทบต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
ประการที่สี่ ทำให้มีการพัฒนาระบบการค้าที่ก้าวหน้า เนื่องจากการผลิตในระบบอุตสาหกรรมมีการแข่งขันสูงและเสรี ดังนั้นนอกเหนือจากการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ล้ำหน้าคู่ต่อสู้และการลดต้นทุนให้ต่ำที่สุดเพื่อให้มีโอกาสในการแข่งขันแล้ว ผู้ผลิตยังพัฒนาระบบการตลาด ซึ่งรวมทั้งการขาย การประชาสัมพันธ์ และการบริการเพื่อจูงใจลูกค้าด้วย ทำให้ระบบการตลาดกลายเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระบบการค้าจนถึงปัจจุบัน
ด้านการเมือง ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจทำให้ประเทศอุตสาหกรรมในยุโรปไม่หยุดยั้งแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ วิธีที่นิยมกันมากที่สุดคือ การขยายอิทธิพลทางการค้าโพ้นทะเลและการจับจองอาณานิคม เพระาทำให้สามารถขยายแหล่งวัตถุดิบและตลาด เป็นผลให้ประเทศยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ขยายลัทธิจักรวรรดินิยมจับจองอาณานิคมทั้งในเอเชีย แอฟริกา และออสเตรเลีย จนเกิดผลกระทบทางการเมืองอย่างกว้างขวาง
ด้านสังคม การปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างกว้างขวาง ทั้งสถานะของคนในสังคม การดำรงชีวิตในสังคมเมือง ตลอดจนการพัฒนาระบบขนส่งและคมนาคม
สถานะของคนในสังคม การปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้นายทุนและนักลงทุนร่ำรวยจากผลกำไรและส่วนแบ่งต่างๆ จากการค้าและอุตสาหกรรม ส่งผลให้มีชนชั้นกลางเพิ่มมากขึ้นในสังคม ชนชั้นกลางเหล่านี้ประกอบอาชีพต่างๆ เช่น นายธนาคาร เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม พ่อค้า นักกฎหมาย แพทย์ วิศวกร และอาจารย์มหาวิทยาลัย บุคคลเหล่านี้มีการศึกษาดีและได้รับการยอมรับในสังคม ส่วนใหญ่มีฐานะร่ำรวย  เป็นเจ้าของทรัพย์สินและมีศักยภาพในการบริโภคสินค้าต่างๆ ในทางตรงข้าม ชนชั้นผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่กลับมีฐานะยากจน โดยเฉพาะกรรมกรในโรงงานอุตสาหกรรมและเหมืองแร่มีความเป็นอยู่ที่แร้นแค้น รายได้ต่ำและขาดสวัสดิการ ทำให้เกิดปัญหาช่องว่างในสังคม สภาพที่แตกต่างในสังคมทำให้นักคิดบางคน เช่น คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) เสนอแนวคิดในการแก้ปัญหาความแตกต่างในสังคมในหนังสือชื่อ Communist Manifesto ซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิดของผู้คนในคริสต์ศตวรรษที่ 20 จำนวนมาก อีกทั้งยังส่งผลกระทบทางการเมืองอย่างมหาศาล เนื่องจากมีผู้นำไปพัฒนาเป็นลัทธิการเมืองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
025การดำรงชีวิตของคนในสังคมเมือง กรเติบโตทางเศราฐกิจในคริสต์ศตววษที่ 19 ทำให้เมืองขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นจำนวนมาก เมืองเหล่านี้เป็นศูนย์รวมความสะดวกสบาย ความรุ่งเรืองทางวัตถุ เทคโนโลยีและสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ทำให้ผู้คนในสังคมเมืองดำรงชีวิตด้วยการพึ่งพาวัตถุและเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม การที่เมืองใหญ่ๆ เหล่านี้เป็นศูนย์รวมความเจริญทั้งหลาย ทำให้มีผู้คนเข้ามาอยู่อาศัยและหางานทำจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดความแออัด ปัญหาคุณ ภาพของผู้ที่อยู่ในชุมชนแออัด ตลอดจนปัญหาสังคมอื่นๆ เช่น ปัญหาอาชญากรรม โสเภณี ขอทาน และคนจรจัด
การพัฒนาระบบขนส่งและคมนามคมสินค้าอุตสาหกรรมที่ผลิตได้ปริมาณมากจำเป็นต้องอาศัยการขนส่งที่มีประสิทธิภาพและพาหนะที่บรรทุกได้ครั้งละมากๆ จึงทำให้มีการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ ซึ่งรวมถึงการพัฒนาเล้นทางคมนาคมและยานพาหนะ เช่น เรือกลไฟ รถไฟ และรถยนต์ตามลำดับ ความก้าวหน้าของระบบขนส่งและคมนาคม ทำให้มนุษย์ในดินแดนต่างๆ มีโอกาสติดต่อกัน ได้เปิดโลกทัศน์และเรียนรู้กันมากขึ้น อนึ่ง ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19อะเล็กซานเดอร์ แกรแฮม เบลล์ (Alexander Graham Bell) สามารถประดิษฐ์เครื่องรับโทรศัพท์และระบบสัญญาณโทรศัพท์ ทำให้ผู้คนที่อยู่ห่างไกลกันคนละซีกโลกสามารถสื่อสารพูโคุยกันได้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการสื่อสารที่ไร้พรมแดน
04โดยสรุป การปฏิวัติอุตสาหกรรมไม่เพียงแต่นำการเปลี่ยนแปลงทุกด้านมาสู่ประเทศอุตสาหกรรม แต่ยังส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อประชาคมโลกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น