วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

ศาสนาสิกข์

ศาสนาสิกข์

  ศาสนาสิกข์เป็นหนึ่งในศาสนาที่เกิดขึ้นใหม่ เมื่อเปรียบเทียบกับศาสนาอื่น ๆ ของโลก เป็นศาสนาที่ยึดถือ และเชื่อมั่นใน เอกเทวนิยม” (Monotheistic) คือเชื่อถือความเป็นเอก หนึ่งเดียวของพระผู้เป็นเจ้าพระองค์เดียว อีกนัยหนึ่งคือ ศาสนาสิกข์เป็นศาสนาที่ยึดมั่น และเชื่อถือในพระเจ้าพระองค์เดียว (วาเฮ่คุรุ) อย่างเคร่งครัด

  ศาสนาสิกข์ก่อตั้งโดย พระศาสดาคุรุนานัก เดวสำหรับจุดเริ่มต้นของศาสนาสิกข์นั้น นับตั้งแต่ปีเกิดของศาสดาองค์แรก คือ ปี พ.ศ.2012 พระศาสดาคุรุนานัก เดว ถือกำเนิดในหมู่บ้านตัลวันดี(ปัจจุบัีนมีนามเรียกว่า "นันกาน่าซาฮิบ" ใกล้เมืองลาโฮร์ ตั้งอยู่ในประเทศปากีสถาน)

พระคัมภีร์ของศาสนาสิกข์

  พระมหาคัมภีร์ของศาสนาสิกข์คือ อาดิครันถ์ เป็นที่รวมของพระธรรม บทสวดภาวนา สดุดีพระผู้เป็นเจ้า โดยพระศาสดาของสิกข์ และนักบวช นักบุญ และนักปราชญ์ ของอินเดียในสมัยนั้น ประดุจศูนย์ รวมของข้อปฏิบัติทางศาสนาและจิตใจ

หลักคำสอน

  ความเชื่อถือพื้นฐานของสิกข์ คือ มูลมันตระ- บทสวดขั้นมูลฐาน” (ข้อมูลแห่งมนตรประเสริฐ) บทสวดนี้เป็นบทสวดปฐม บทแรกเริ่มต้นในพระมหาคัมภีร์คุรครันถ์ซาฮิบ ประพันธ์โดยพระศาสดาคุรุนานักเป็นบทสรุปและรากฐานแห่งความเชื่อถือของชาวสิกข์ ชาวสิกข์จะสวดภาวนาบทสวดนี้ทุกวัน

พิธีกรรมที่สำคัญ

  การเกิดและพิธีตั้งชื่อของบุตร  การตั้งชื่อเด็กตามตัวอักษานั้น เด็กชายจะมีนามว่า สิงห์ต่อท้าย และเด็กหญิงจะมีนามว่า กอร์ต่อท้ายนาม

 พิธีรับอมฤตของสิกข์  พิธีรับอมฤต (การบรรพชาของชาวสิกข์) เป็นสิ่งสำคัญยิ่งแห่งการเป็นสิกข์ โดยทั่วไปจะไม่มีข้อกำหนดอายุขั้นต่ำของการที่จะเข้าพิธีดังกล่าว ชาวสิกข์จะให้สัตย์ปฏิญาณที่จะรักษาและปฏิบัติจามข้อบัญญัติที่พระศาสดาทรงบัญญัติไว้ ไม่ว่าชายหรือหญิงสัญชาติใด เผ่าพันธ์ใด หรือมีฐานะอะไรในสังคม ถ้งตั้งใจมั่นที่จะปฏิบัติตามข้อบัญญัติ ย่อมมีสิทธิ์ที่จะรับอมฤตและบรรพชา และร่วมในสังคมสิกข์ (ประชาคมสิกข์)

 ชาวสิกข์ทุกคนที่รับอมฤตแล้วจะต้องละเว้นจากการกระทำ ๔ ประการ ต่อไปนี้ คือ

 ๑. ห้าทำการตัด โกน ถอนผม หรือหนวดเคราจากร่างกาย

 ๒. ห้ามรับประทานเนื้อสัตว์ที่ผ่านกรรมวิธีการฆ่าอย่างทรมาน

 ๓. ห้ามประพฤติผิดลูกผิดเมียผู้อื่น และอยู่ร่วมผู้อื่นที่ไม่ใว่สามี หรือภรรยาของตนฉันท์สามีภรรยา

 ๔. ห้ามเสพ หรือใช้ของมึนเมา สุรา และยาเสพติดทุกรูปแบบ

  พิธีสมรสของชาวสิกข์ หรืออนันต์การัญ  ชาวสิกข์ถือว่าการสมรสเป็นการผูกพันทั้งกายและใจที่บริสุทธิ์ หาใช่ข้อตกลงหรือสัญญาบนแผ่นกระดาษทั่วไป แต่เป็นการเชื่อมโยงของดวงจิตสองดวงเข้าด้วยกัน พิธีสมรสสามารถจัดโดยไม่จำเป็นต้องมีพิธีหมั้นมาก่อน และไม่จำเป็นต้องมีการเจาะจงดูฤกษ์ยาม หรือรอคอยวันอันเป็นมงคล หากแต่พิธีสมรสสามารถจะจัดให้มีขึ้นได้ทุกสถานที่ที่เหมาะสม ที่มีการอัญเชิญพระศาสดาคุรุครันถ์ซาฮิบมาประทับ

 พิธีศพของชาวสิกข์  พิธีศพของชาวสิกข์ก็จะกระทำอย่างสามัญ ไม่มีพิธีมากมาย กล่าวคือศพของชาวสิกข์ที่เสียชีวิตแล้วจะรอจนกว่าญาติสนิทและมิตรสหายากันครบถ้วน แล้วจะทำการถูกเผาศพ ในส่วนของเถ้าถ่าน และอังคารที่เหลือจะนำไปโปรยลงในแม่น้ำหรือลำธารที่ใกล้เคียง การกระทำเช่นนี้เป็นการยืนยันว่าเป็นการสิ้นสุดแห่งชีวิต พิธีต่าง ๆ เหล่านี้มีจุดร่วมอยู่อย่างเดียวนั่นคือ เตือนให้ชาวสิกข์รำลึกถึงความสัมพันธ์กับพระผู้เป็นเจ้า และการกลับไปร่วมเป็นหนึ่งเกียวกับ วาเฮ่คุรุ

จุดหมายปลายทางสูงสุดของศาสนาสิกข์

  ศาสนาสิกข์มีจุดหมายปลายทางสูงสุดของชีวิต อันเป็นความสุขที่แท้จริงและนิรันดรที่ชาวสิกข์ทุกคนปรารถนาจะดำเนินไปถึง คือ ความกลมกลืนเข้ากับชีวิตของพระเจ้าหรือได้รับพระมหากรุณาจากพระเจ้า วิธีที่จะบรรลุจุดหมายปลายทางนั้นได้ก็ต้องบูชาพระเจ้า สวดเพลงสรรเสริญพระนาม และการฟังพระนาม

นิกายในศาสนาสิกข์

  ในศาสนาสิกข์แบ่งออกเป็นหลายนิกาย แต่มีนิกายที่สำคัญ ๆ ๒ นิกาย คือ

  ๑. นิกายนานักปันถิ แปลว่า ผู้ปฏิบัติตามธรรมของท่านคุรุนานัก (ศาสดาองค์แรก) ผู้นับถือนิกายนี้จะไม่เข้าปาหุล หรือล้างบาป และไม่รับ ทั้ง ๕ ประการ

  ๒. นิกายนิลิมเล แปลว่า นักพรตผู้ปราศจากมลทิน บางแห่งเรียกนิกายนี้ว่า นิกายขาลสาหรือ นิกายสิงห์ผ้นับถือนิกายนี้จะดำเนินตามคำสอนของท่านคุรุโควินทร์สิงห์ (ศาสดาองค์ที่ ๑๐) โดยเฉพาะในเรื่องปาหุล หรือล้างชำละล้างบาป ให้ตนเป็นผู้บริสุทธิ์ (ขาลสา) และเมื่อรับ ทั้ง ๕ แล้วก็ใช้นามสิงห์ต่อท้ายได้

  นอกจาก ๒ นิกายดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีนิกายแยกย่อยอีกมากมาย

  ผู้ที่นับถือศาสนาและผ่านพิธี ปาหุล ตามแบบศาสนาจะได้นามว่า สิงห์ ลงท้ายชื่อและเมื่อทำพิธีแล้วจะได้รับ กกะ ได้แก่

 1.เกศ การไว้ผมยาวโดยไม่ตัด

 2.กังฆา หวีขนาดเล็ก 

 3.กริปาน ดาบ

 4.กรา กำไลมือทำด้วยเหล็ก

 5.กฉา กางเกงขาสั้น

สัญลักษณ์ของศาสนาสิกข์


  สัญลักษณ์ของศาสนาสิกข์ที่นิยมกันมากในปัจจุบัน และใช้พิมพ์ไว้ในหนังสือต่าง ๆ เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าเป็นของศาสนาสิกข์ คือ รูปดาบไขว้ และมีดาบ 2 คม หรือพระขรรค์อยู่ตรงกลาง แล้วมีวงกลมทับพระขรรค์นั้นอีกต่อหนึ่ง วงกลมนั้นมิได้ทำเป็นรูปจักร แต่ทำเป็นเส้นกลมธรรมดา สัญลักษณ์ประการที่สอง คือ อักษร ก ทั้ง 5 นับเป็นสัญลักษณ์แสดงความเป็นชาวสิกข์ผู้ได้ผ่านปาหุลหรือการล้างบาปแล้ว สมควรใช้นามว่า สิงห์ ต่อท้ายได้ นอกจากนี้สัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของศาสนาสิกข์ ได้แก่ กาน้ำและดาบ อันแสดงถึงการรับใช้และกำลัง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น