วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

ความร่วมมือในคริสต์ศตวรรษที่ 20

ความร่วมมือในคริสต์ศตวรรษที่ 20

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้นำของประเทศตะวันตกพยายามหาทางป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งลุกลามเป็นสงคราม และเสนอให้มีการตั้งองค์การความร่วมมือระดับสากล คือ องค์การสันนิบาตชาติที่ตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และองค์การสหประชาชาติ (United Nations) ที่ตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
องค์การสันนิบาตชาติ
011องค์การสันนิบาตชาติจัดตั้งขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ตามแนวคิดของประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเสนอให้มีการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศเพื่อรักษาสันติภาพ ในการประชุมสันติภาพหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่พระราชวังแวร์ซายส์ (Versailles) ประเทศฝรั่งเศส ค.ศ. 1919 วัตถุประสงค์ขององค์การสันนิบาตชาติที่สำคัญ คือ การรักษาสันติภาพโดยวิธีป้องกันไม่ให้เกิดสงคราม
อย่างไรก็ตามองค์การสันนิบาตชาติไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เนื่องจากสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นแกนหลักในการก่อตั้งองค์การไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก ประกอบกับองค์การสันนิบาตชาติไม่มีอำนาจบีบบังคับสมาชิกในกรณีที่สมาชิกไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับขององค์การ เช่น กรณีอิตาลีบุกอบิสซิเนีย หรือญี่ปุ่นรุกรานแมนจูเรีย องค์การสันนิบาตชาติก็ไม่สามารถดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวไว้ ทำให้องค์การสันนิบาตชาติประสบความล้มเหลวในการธำรงสันติภาพ
องค์การสหประชาชาติ
548แนวคิดในการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติเกิดจากความต้องการจัดตั้งองค์กรที่เป็นกลาง ซึ่งสามารถดำเนินการรักษาสันติภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพแทนองค์การสันนิบาตชาติที่ประสบความล้มเหลว เพราะไม่สามารถช่วยให้ประเทศเล็กๆ รอดพ้นจากการคุกคามของประเทศใหญ่ได้
ใน ค.ศ. 1941 ขณะที่สหรัฐอเมริกายังไม่ได้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้นำของอังกฤษและสหรัฐอเมริกา คือ เซอร์วินสตัน เชอร์ชิลล์ (Sir Winston Churchill) และ นายแฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์ (Franklin D. Roosevelt) ได้พบปะกัน และเห็นพ้องกันว่าควรจัดตั้งองค์กรที่เป็นกลางเพื่อธำรงรักษาสันติภาพภายหลังที่สงครามโลกยุติลงจึงนำไปสู่การจัดทำกฎบัตรแอตแลนติก (Atlantic Charter) และมีการประกาศก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ (Declaration of the United Nations) ครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1942 ต่อมาใน ค.ศ. 1945 ประเทศสมาชิกแรกก่อตั้งจำนวน 51 ชาติ ได้ลงนามในกฎบัตรก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ และถือเอาวันที่ 24 ตุลาคมของทุกๆ ปีเป็นวันสหประชาชาติ ส่วนประเทศไทยเป็นสมาชิกลำดับที่ 55 ขององค์การสหประชาชาติ
องค์ประกอบขององค์การสหประชาชาติ องค์การสหประชาชาติมีองค์ประกอบ ดังนี้
สมัชชาใหญ่ ได้แก่ ที่ประชุมใหญ่ของประเทศสมาชิก แต่ละประเทศมีสิทธิในการออกเสียงเท่าเทียมกันประเทศละ 1 เสียง ใน ค.ศ. 2009 สมัชชาใหญ่ของสหประชาชาติมีสมาชิกรวม 192 ประเทศ
5554คณะมนตรีความมั่นคง ทำหน้าที่รักษาสันติภาพของโลก ด้วยการแก้ไขปัญหาวิกฤตต่างๆ ที่เกิดขึ้น มีสมาชิกรวม 15 ชาติ ประกอบด้วยสมาชิกถาวร ซึ่งไม่มีสิทธิ์ใช้อำนาจยับยั้ง (Veto) การลงมติของคณะมนรีความมั่นคง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต อังกฤษ ฝรั่งเศสและจีนรวม 5 ชาติ และสมาชิกไม่ถาวรซึ่งได้รับเลือกจากสมัชชาใหญ่ 10 ชาติ มีวาระ 2 ปี สมาชิกไม่ถาวรไม่มีสิทธิ์ใช้อำนาจยับยั้ง
คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคม มีหน้าที่ให้คำเสนอแนะในการแก้ปัญหาด้านสังคมและเศรษฐกิจ
คณะกรรมการภาวะทรัสตี มีหน้าที่ดูแลดินแดนที่ยังไม่ได้รับเอกราชให้มีความพร้อมที่จะปกครองตนเอง
องค์การชำนาญพิเศษ เช่น FAO (องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ) WHO (องค์การอนามัยโลก) ILO (องค์การแรงงานระหว่างประเทศ) UNESCO (องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ) UNHCR (สำนักงานผู้อำนวยการคณะกรรมการผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ) ฯลฯ
หน่วยงานเลขาธิการ บริหารงานโดยเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ซึ่งได้รับเลือกจากที่ประชุมของสมัชชาใหญ่ มีวาระ 5 ปี
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ทำหน้าที่พิจารณาคดีระหว่างประเทศที่คู่กรณียินยอมนำคดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลระหว่างประเทศ ดังเช่น กรณีเขาพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชา นอกจากนี้คดีที่มีผู้เสียหายระหว่างประเทศ ก็สามารถทำการฟ้องร้องต่อศาลระหว่างประเทศได้ ดังเช่น กรณีเขมรแดงฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเขมรนับล้านคน ผู้เสียหายได้ดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลระหว่างประเทศ
ผลงานของอค์การสหประชาชาติ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาองค์การสหประชาชาติสามารถช่วยแก้ปัญหาให้แก่ชาวโลกได้เป็นจำนวนมาก เช่น
การระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศ สหประชาชาติสามารถระงับกรณีพิพาทได้หลายกรณี โดยส่งกองกำลังจากประเทศสมาชิกเข้าร่วมรบหรือตรึงกำลังของทั้งสองฝ่ายไว้ ผลงานที่ผ่านมา ได้แก่ สงครามเกาหลี สงครามตะวันออกกลาง (ยิว – อาหรับ) สงครามกลางเมืองในบอสเนีย สงครามในติมอร์ตะวันออก ฯลฯ
การช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม สหประชาชาติช่วยขจัดปัญหาความยากจนและความอดอยากในประเทศที่ล้าหลังและด้อยพัฒนาที่ไม่อาจช่วยตนเองได้ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหประชาชาติให้ความช่วยเหลือประเทศเกิดใหม่ ปัจจุบันสหประชาชาติยังคงให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศที่ล้าหลังในทวีปแอฟริกาซึ่งส่วนใหญ่มักจะยากจน ขาดการศึกษาและมีสภาพบ้านเมืองวุ่นวาย
การร่วมมือทางด้านการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรม องค์การยูเนสโก (UNESCO) ช่วยฟื้นฟูโบราณสถานและศิลปวัตถุ รวมทั้งการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกโลกของสถานที่สำคัญในประเทศต่างๆ เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมซึ่งเป็นมรดกของมนุษยชาติ
การร่วมมือเพื่อต่อต้านการคุกคามประเทศที่อ่อนแอ สหประชาชาติใช้วิธีการคว่ำบาตรและการต่อต้านเพื่อลงโทษประเทศที่คุกคามประเทศอื่นซึ่งอ่อนแอกว่า เช่น การคว่ำบาตรอิรักที่ก่อสงครามในอ่าวเปอร์เซีย การคว่ำบาตรประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ซึ่งดำเนินนโยบายเหยียดผิว การประกาศคว่ำบาตรเกาหลีเหนือที่ทดลองอาวุธนิวเคลียร์ เป็นต้น
ปัญการขององค์การสหประชาชาติ องค์การสหประชาชาติประสบปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานหลายประการ ที่สำคัญได้แก่
ประการแรก สหประชาชาติไม่สามารถระงับข้อขัดแย้งที่มีประเทศมหาอำนาจเข้าแทรกแซงหรือเป็นคู่กรณีได้อย่างเด็ดขาด เพราะประเทศนั้นๆ จะใช้สิทธิยับยั้งการลงมติของคณะมนตรีความมั่นคง เช่น สหรัฐอเมริกาใช้สิทธิยับยั้งไม่ให้มีการนำปัญหาสงครามเวียดนามที่สหรัฐอเมริกาเข้าไปรุกรานเวียดนามเหนือเข้าสู่การพิจารณาของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และกรณีสหภาพโซเวียตใช้สิทธิยับยั้งเมื่อสหประชาชาติลงมติประณามการที่สหภาพโซเวียตบุกอัฟกานิสถาน
ประการที่สอง สหประชาชาติประสบปัญหาเรื่อสถานะทางการเงินซึ่งอยู่ในภาวะไม่สมดุลระหว่างรายรับและรายจ่าย เนื่องจากสหประชาชาติไม่สามารถแสวงหารายได้เพื่อผลกำไร ทั้งรายรับที่มาจากเงินบำรุงค่าสมาชิกก็น้อยกว่ารายจ่าย สมาชิกบางส่วนไม่ได้จ่ายค่าสมาชิกเพราะเป็นประเทศยากจนไม่สามารถจ่ายค่าสมาชิกได้ และบางประเทศค้างจ่ายค่าสมาชิกทั้งๆ ที่สามารถจ่ายได้
ประการที่สาม ปัญหาการปฏิรูปองค์การสหประชาชาติ ประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ต้องการให้มีการปฏิรูปองค์การสหประชาชาติ เนื่องจากกฎบัตรสหประชาชาติบางส่วนล้าหลัง ที่สำคัญองค์การสหประชาชาติก่อตั้งขึ้นโดยประเทศมหาอำนาจฝ่ายพันธมิตรซึ่งเป็นผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นมหาอำนาจในช่วงสงครามเย็น แต่ในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคหลังสงครามเย็น ดุลอำนาจของโลกคือเศรษฐกิจ สมาชิกหลายประเทศจึงเสนอให้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติให้เหมาะสมกับภาวการณ์ของโลกปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป
องค์การความร่วมมือระดับภูมิภาค
ปัจจุบัน นอกจากองค์การสหประชาชาติซึ่งเป็นองค์การสากลที่ใหญ่ที่สุดในโลกแล้ว ภูมิภาคต่างๆ ของโลกยังมีการรวมกลุ่มในระดับภูมิภาคตามสภาพภูมิศาสตร์และสภาพเศรษฐกิจ
การรวมกลุ่มตามสภาพภูมิศาสตร์ เช่น
กลุ่มสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน (Association of Southeast Asian Nations = ASEAN) เป็นการรวมกลุ่มของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยสมาชิกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวม 10 ประเทศ
444กลุ่มสหภาพยุโรป หรือ อียู (European Union = EU) เป็นการรวมกลุ่มของประเทศในยุโรปด้านต่างๆ ประกอบด้วยประเทศสมาชิกในยุโรปรวม 27 ประเทศ
457กลุ่มองค์กรรัฐอเมริกา (Organization of American States = OAS) เป็นการรวมกลุ่มประเทศต่างๆ ที่อยู่ในทวีปอเมริกาทั้งในอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ มีสมาชิกรวม 35 ประเทศ
120กลุ่มองค์การเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity = OAU) เป็นการรวมกลุ่มชาติส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกา มีสมาชิกรวม 53 ประเทศ
453การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เช่น
WTO (World Trade Organization) คือ องค์การการค้าโลก ซึ่งเป็นองค์การทางเศรษฐกิจที่มีสมาชิกเกือบทั่วโลก (ใน ค.ศ. 2009 มีสมาชิก 153 ประเทศ) ทำหน้าที่กำหนดกรอบระเบียบการค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิกและข้อตกลงทางการค้าต่างๆ
024G – 7 (Group of Seven) คือ กลุ่มชาติอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ ได้แแก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี และเยอรมนี ต่อมาในการประชุมมีรัสเซียเข้าร่วมด้วย จึงมักเรียกกันว่า G – 8
G7info5654AFTA (Asean Free Trade Area) คือ เขตการค้าเสรีแห่งอาเซียน เป็นการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในกลุ่มสมาชิกของอาเซียน
0115NAFTA (North American Free Trade Area) คือ เขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกาเหนือ เป็นการรวมกลุ่มเศรษฐกิจของประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก
545
APEC (Asia – Pacific Economic Cooperation) คือ กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเขตเอเชียแปซิฟิก หรือกลุ่มประเทศที่ตั้งอยู่ตามขอบมหาสมุทรแปซิฟิก ทั้งในทวีปเอเชีย อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และออสเตรเลีย
878ASEM (Asia – Europe Meeeting) เป็นกลุ่มการประชุมเอเชีย – ยุโรป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในเอเชียและยุโรป
5455


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น